รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรเพื่อการสร้างเกษตรกรยุคใหม่ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเกษตร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ชาติชาย เกตุพรม
เอกราช โฆษิตพิมานเวช
ยุทธศาสตร์ กงเพชร
อดุลย์ พิมพ์ทอง
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรเพื่อการสร้างเกษตรกรยุคใหม่ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเกษตร 2) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรเพื่อการสร้างเกษตรกรยุคใหม่ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเกษตร 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรเพื่อการสร้างเกษตรกรยุคใหม่ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเกษตร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครู 434 คน และเกษตรกร และ ผู้ประกอบการ  272 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการอยู่ในระดับปานกลาง และมีแนวทางการบริหารจัดการ คือ ควรกำหนดเป้าหมาย คณะกรรมการ กระบวนการ และคุณสมบัติหรือคุณภาพของเกษตรกรยุคใหม่ (2) รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรเพื่อการสร้างเกษตรกรยุคใหม่ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรมี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) กลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ 2) คณะกรรมการร่วมเพื่อการสร้างเกษตรกรยุคใหม่ 3) กระบวนการบริหารจัดการ และ4) คุณภาพเกษตรกรยุคใหม่ หลังทดลองใช้รูปแบบโดยภาพรวมความพึงพอใจของเกษตรกรยุคใหม่ที่มีต่อการดำเนินงานตามโครงการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเกษตรกรยุคใหม่ที่ได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนหรือการฝึกอบรมแล้วประสบความสำเร็จมีผลผลิตและรายได้เป็นที่ปรากฏในระดับการพึ่งพาตนเองมีจำนวนเพิ่มขึ้น และ(3) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรเพื่อการสร้างเกษตรกรยุคใหม่ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรกรรุ่นใหม่ Smart Farmer และ Smart Officer. (2556). คู่มือการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

จินตนา รวมชมรัตน์. (2558). รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

เนตร์พัณยา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2550). การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

วรนารถ แสงมณี. (2553). องคการ : ทฤษฎี การออกแบบและการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ. กรุงเทพมหานคร: ดารณี สนามเตะ.

สำราญ สาราบรรณ์. (2561). แนวทางการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ปีการศึกษา พุทธศักราช 2560-2561 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2562). รายงานการวิจัยภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.

Bardo, J. W., & Hartman, J. (1982). Urban society: A systematic introduction. New York: F. E. Peacock.

DuBrin. (2010). Essentials of Management (5th ed). New York: South-Western College Publishing.

Fayol, Henri. (1964). General Industrial Management. London : Pitman.

Keeves, P.J. (1988). Educational research, methodology, and measurement : An international handbook. Oxford: Pergamon Press.

Strickland, A. W. (2006). ADDIE. Idaho State University College of Education Science, Math & Technology Education. Retrieved March 2, 2017. From http/www.ed.isu. edu/addie/index.htm.