การวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดท้องถิ่น ในเขตจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

อัญธิดากรณ์ ไชยคิรินทร์
นันทิยา น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรีโดยการสัมภาษณ์จำนวน 7 คน และและจากแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และ ครูพี่เลี้ยงเด็กเล็กของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 ตามแนวคิดตัวอย่างตามแนวคิดของ Cattell (1978 : 139-164)
          ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเกี่ยวกับวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี โดยใช้เทคนิค การวิเคราะห์องค์ประกอบ ประเภทการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีสกัดองค์ประกอบแบบวิธีประกอบหลักองค์ประกอบ ได้องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ผลการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 2 วิธี ประกอบด้วยค่า KMO ซึ่งเป็น การตรวจสอบความเหมาะสมของกลุ่มตัวอย่าง โดยค่า KMO ควรมีค่ามากกว่า 0.50 จะถือว่า กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเหมาะสม และค่า Bartlett’s Test เป็นการตรวจสอบเมตริกสหสัมพันธ์ของ กลุ่มประชากรว่าเป็นเมตริกอัตลักษณ์หรือไม่ (Identity Matrix) ทั้งนี้ค่า Bartlett’s Test ควรมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งผลการทดสอบพบว่า ค่า KMO มีค่าเท่ากับ 0.957 และค่า Bartlett’s Test มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 จึงกล่าวได้ว่า ข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่างมีความเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตจังหวัดนนทบุรีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา สวัสดิ์ชัย. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การ บริหารส่วนตาบลต้นธง จังหวัดลาพูน. การค้นคว้าแบบอิสระกศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิตติรัตน์ แหย่งบุดดา. (2554). การบริหารจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสีชมพูจังหวัดขอนแก่น. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research). 4 (5), 163-172.

ชะบาไพร แสงชมภู, (2559). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัด. Local Administration Journal. 9 (3), 1-19.

นวลจันทร์ บุดดา. (2564). ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ “โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวเรียนรู้ควบคู่สนุก” สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปัญญา. 28 (1), 38-46.

วนิดา รุ่งโรจน์สันติสุข และ ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2560). แนวทาง การ บริหาร จัดการ สภาพ แวดล้อม เพื่อ ส่งเสริม พัฒนาการ เด็ก ของ ศูนย์ พัฒนา เด็ก เล็ก จังหวัด ปทุมธานี. รายงานการประชุม วิชาการ เสนอ ผล งาน วิจัย ระดับ ชาติ และ นานาชาติ. 1 (8), 2093-2104.

ณิชกานต์ นันตาลิต. (2558). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 8 (3), 84-102.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research). 8 (2), 125-134.

ปรัศนี เจริญใจ. (2551). การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนา เด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตําบลเทพเสด็จ อําเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.

Cattell, R. B. (1978). A check on the theory of fluid and crystallized intelligence with description of new subtest designs. Journal of Educational Measurement. 15 (3), 139-164.