การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT

Main Article Content

สุริยัน เขตบรรจง
ณัฐชยา บุญประสงค์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT เป็นการวิจัยเชิงทดลองในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือการวิจัย คือแผนการจัดกิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีทั้งหมด 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสำรวจความพึงพอใจ การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยได้ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4 MAT ระหว่างหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.81

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2552). เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 21 (71), 16-23.

ขวัญชนก สุนทรสุข. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตสาสตร์ โดยวิธี 4 MAT เรื่อง ทฤษฎีบทปีทาโกรัส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ครั้งที่ 22 ประจําปี 2560.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (1), 7-20.

ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา. (2538). จากศักยภาพสู่อิสรภาพ. นานมีบุ๊คส์.

ประพันธ์สิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

รัตนา ตั้งศิริชัยพงษ์. (2553). รูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติมที่ประยุกต์ใช้กลยุทธ์การพัฒนาตนเองด้วยสัญญาการเรียนในการพัฒนาสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าบ่ จังหวัดหนองคาย.วารสารวิชาการ. 14 (4), 23.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). การพัฒนาหลักสูตร. สำนักพิมพ์การมาตรฐานการอุดมศึกษา.

วีระ สุดสังข์. (2550). การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ แลคิดสร้างสรรค์. สุวีริยาสาส์น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. ส เจริญการพิมพ์.

สันติ อิทธิพลนาวากุล. (2550). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้โปรแกรม GSP (The Geometer’s Sketchpad) เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิริพร ทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุนันทา บ้านกล้วย. (2556). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6 (3), 193.

สุรศักดิ์ ภะวะ (2556). การเปรียยเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 3 (1), 50.

อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

McCarthy, B. (1997). A Tale of four Learners 4MAT Learning Style. Education Leadership. 54 (6), 46-51.

Silva, D.L., Sabino, L.D., Adina, E. M., Lanuza, D. M., & Baluyot, O. C. (2011). Transforming Diverse Learners through a Brain-based 4MAT Cycle of Learning. 99 Proceedings of the world Congress on Engineering and Computer Science. 1 (1), 19-21.

Uyangor, S. M. (2012). The effectiveness of the 4MAT teaching model upon student achievement and attitude levels. International Journal of research studies in education, 1 (2), 43-53.IIED (International Institute for Environment and Development). (2016). The green climate fund accreditation process: Barrier or opportunity, sustainable development goals (SDGs) and post-2015 agenda. Online. Retrieved October 8, 201. from : www.iied.org