ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ และแก้ปัญหา โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครปีการศึกษา 2565จาก3 โรงเรียนๆ ละ 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาและ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ (Paired Sample t–test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์และคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหากับเกณฑ์ที่กำหนดด้วยสถิติทดสอบที (One Samplet–test)
ผลการวิจัย
1. ได้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active) โดยการพูด ฟัง อ่าน เขียน มีการอธิบาย อภิปราย วิเคราะห์และแก้ปัญหาร่วมกัน ได้สะท้อนความคิด อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ โดยจัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ 7 แผน แต่ละแผนมีการดำเนินการ 5 ขั้นคือ 1. ขั้นนำ 2. ขั้นนำเสนอสถานการณ์ 3. ขั้นลงมือปฏิบัติกิจกรรม 4. ขั้นนำเสนอผลการเรียนรู้ และ 5. ขั้นสะท้อนความคิดและประยุกต์ใช้
2) ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2.1 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05
2.2 ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.3 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ฯ โดยรวม อยู่ในระดับมากและข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุด คือ กิจกรรมมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติร่วมกันอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุนมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซัคเซส มีเดีย.
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์กศ.ม. (คณิตศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน.องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาพร สว่างอารมณ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 (ตอนที่ 74ก).
มยุรี โรจนอรุณ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรูเชิงรุกรวมกับกระบวนการกลุมที่มีตอความสามารถในการแกปญหาทางคณิตศาสตร และความสามารถในการทํางานกลุมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6. ปริญญานิพนธ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรณัน ขุนศรี.(2552). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการคิดในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์.วารสารวิชาการ. 12 (3) , 60.
ศิริมา วงษ์สกุลดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยการเรียนรู้เชิงรุก ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์กศ.ม. (การสอนคณิตศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สัญญา ภัทรากร. (2552). ผลของการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความน่าจะเป็น. วิทยานิพนธ์กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุชาดา แก้วพิกุล. (2555). การพัฒนากิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ใช้การจัดการเรียนการสอนอย่างกระตือรือร้นโดยเน้นการเรียนเป็นคู่ร่วมกับการบริหารสมอง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสุขในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภมิต จันดีวงษ์. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารออนไลน์. บัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Hit 682.
สุนทรา ศรีวิราช. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศศ.ม.(วิทยาศาสตรศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550). รายงานผลการประเมินโอกาสและคุณภาพการศึกษาของคนไทย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bonwell, C.C. &Eison, J.A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Clearinghouse on Higher Education Washington DC. George Washington Univ. Washington DC.
Meyers, C., & Jones, T.B. (1993). Promoting active learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco: Jossey – Bass Publisher. Rosenthal.
Sternberg, Robert J. (1997). “What does it mean to be smart?.” Education Leaderships.: Volume 54, 20 – 24.