รูปแบบการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อการดำเนินงานกระบวนการของสำนักงานบัญชีในยุค New Normal จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ตในยุค New Normal 2.เพื่อศึกษาการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อกระบวนการของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ตในยุค New Normal และ 3.เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ตในยุค New Normal ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ สำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 103 แห่ง และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) สถิติที่ใช้เพื่อการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีแบบขั้นตอน (Stepwise) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 36– 45 ปี ศึกษาในระดับปริญญาตรี ในตำแหน่งพนักงานบัญชี มีระยะเวลาการดำเนินงาน 5-10 ปี
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นการจัดการของสำนักงานบัญชี (โดยรวม) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D. = 0.21) และผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานบัญชีเพื่อเข้าสู่ยุค New Normal (โดยรวม) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.74, S.D. = 0.32)
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับกระบวนการจัดการของสำนักงานบัญชีในยุค New Normal จังหวัดภูเก็ต พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อยู่ระหว่าง .532 ถึง .632 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
แนวทางการพัฒนาการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานบัญชีในจังหวัดภูเก็ตในยุค New Normal พบว่า สำนักงานบัญชีมีกระบวนการเยนรู้ตามรูปแบบของข้อกำหนด ทั้งนี้ในปัจจุบันรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสำสักงานบัญชีเปลี่ยนเป็นรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการและควรส่งเสริมกระบวนเรียนรู้เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการเรียนรู้วิธีการพัฒนาใหม่ ๆ ทั้งนี้ระบบของสำนักงานบัญชีคุณภาพมีกฎเกณฑ์ที่สามารถรองรับคุณภาพของการประเมินการดำเนินงานที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้ผ่านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2560). กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รบการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2555). ธุรกิจบริการ : วิชาชีพบัญชี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน
แหล่งที่มา: www.dth.go.th/filesupload/aec/images/acc29-05-55.pdf
กมลภู สันทะจักร์ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ใน
การปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 17 (1), 17-31.
จุฑาทิพ อัสสะบำรงรัตน์. (2563). ถึงเวลาที่เราจะนำ Remoting Audit มาใช้กันหรือยัง?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2556. แหล่งที่มา: https://www.tfac.or.th/Article/Detail/70798
ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผล ต่อ
ความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและ กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2556. แหล่งที่มา: https://www.spu.ac.th
นพฤทธิ์ คงรุ่งโชค. (2549). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.
นภาภรณ์ จันทร์ศัพท์และคณะ. (2545). วิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พัชรินทร์ ใจเย็น และคณะ. (2560). นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน. Journal of Institute of
Management Science, 3(1), 196-207.
พลพธู ปียวรรณ และ สุภาพร เชิงเอี่ยม. (2554). " ระบบสารสนเทศทางการบัญชี" ครั้งที่ 6
กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดี การพิมพ์ จำกัด.
ชลิดา ลิ้นจี่ ,สุภาพร บุญเอี่ยม และนิศารัตน์ วิอังศุธร.(2564). การบริหารงานสมัยใหม่ในยุค New
normal กับผลการดำเนินงานของ สำนักงานบัญชีในประเทศไทย. วารสารรัชภาคย์. 16
(44), 139-150.
สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การประเมินโครงการ:แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
CGMA Competency Framework. (2019). Update CGMA Future Re-Inventing Finance
for a Digital World.
Punpinij.S. (1990). “Role Performance of Sub-district Agricultural Extension
Officers in Northeastern Thailand,” Doctoral Dissertation. Department of
Agricultural Education and Rural Studies.University of the Philippines Los
Banos,1990.
Robbins & DeCenzo. (2004), Certo. (2003). Retrieved December 18, 2012, from