การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเกมทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานกับชีวิตสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กัลยา มั่นประสงค์
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเกมทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานกับชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ผลการวิจัยพบว่า เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเกมทางวิทยาศาสตร์ เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการผ่านเกมทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชามาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่ผู้วิจัยที่ได้กำหนดในแต่ละขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวงปฏิบัติการวิจัย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน จากนี้พบว่านักเรียนมีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหามากยิ่งขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญารัตน์ โคจร. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS Learning Model) เรื่องสารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ.

ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: เพชรเกษมการพิมพ์.

เฉลิมชัย พันธุ์เลิศ. (2562). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. คณะทำงานจัดกรอบสมถรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะอนุกรรมการจัดการเรียนการสอน ในคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา. วารสารวิชาการ (1), 22.

ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์. (2554). อึ้ง!!เด็กไทยยอมรับพฤติกรรม “การเล่นขี้โกงเอมีโอกาศ” . ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.thairath.co.th/content/203571.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2560). จิตวิทยาสำหรับครู,502-204. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา:

https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-phathnakar/thvsdi-phathnakar-thang-sti-payya-khxng-pheiy-cet.

วาทินี บรรจง. (2561). นักออกแบบตัวน้อย : การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46 (2), 330-347.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.krukird.com/scincep3_2.pdf.

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพัชรี ผุดผ่อง. (2553). เสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านทักษะการคิด. วารสารทางการศึกษาสำหรับครูและผู้ปกครอง. 7 (2), 10-12.

สุภามาส เทียนทอง. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Burnette,C. (2013). Creativity in Design Thinking. Online. Retrieved from https://www. academia.edu/3737301/Creativity_in_Design_Thinking

Eberle, R. F., & Stanish, B. (1996). CPS for Kid: A resource book for teaching creative problem solving to children. Texas: Prufrock Press.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.). Victoria: Deakin University

Kirkley, J. (2003). Principles for teaching problem solving. Minnesota: Plato Learning.

Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. NJ: Prentice-Hall