เปรียบเทียบการแปลงเป็นนามวลีของภาษาไทยและภาษาจีน

Main Article Content

ชัญญาภัค ตามัย

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการแปลงเป็นนามวลีของภาษาไทยและภาษาจีน ภาษาไทยและภาษาจีนนั้นเป็นภาษาคำโดดที่ไม่มีรูปคำบอกชนิดของคำ ทว่าในภาษาไทยและภาษาจีนต่างมีปรากฏการณ์ทางภาษาที่เรียกว่า การแปลงเป็นนามวลี ซึ่งก็คือการเติมรูปคำข้างหน้าหรือหลังคำกริยาและคำคุณศัพท์ เมื่อเติมแล้วคำเหล่านั้นจะกลายเป็นคำนาม จากการศึกษาเปรียบเทียบนามวลีแปลงในภาษาไทยและภาษาจีนพบว่า มีความเหมือนและแตกต่างกัน ด้านแรกการแบ่งชนิดของคำ ในภาษาไทยได้จัดให้นามวลีแปลงเป็นประเภทหนึ่งของคำนาม แต่ภาษาจีนไม่มีการแบ่งประเภทของนามวลีแปลงอย่างชัดเจน ด้านที่สองการเติมตัวบ่งชี้ ในภาษาไทยจะใช้วิธีการเติม การ- ความ- เป็นกระบวนการแปลงเป็นนามวลี ซึ่งในภาษาจีนนั้นมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทย นั่นคือการเติม “的” หลังคำกริยาและคำคุณศัพท์ จะทำให้คำกริยาและคำคุณศัพท์มีคุณสมบัติของคำนาม ด้านที่สามนามวลีแปลงกับหน้าที่ของคำในประโยค ในภาษาไทยตำแหน่งประธานของประโยคจะเป็นคำนาม แต่ในภาษาจีนนั้นตำแหน่งประธานและกรรมในประโยคที่เป็นคำกริยาและคำคุณศัพท์จะไม่นับว่าเป็นคำนามหรือนามวลีแปลง บทความนี้จะทำให้เราเข้าใจถึงเรื่องการแบ่งชนิดของคำนามในภาษาไทยและภาษาจีน ลักษณะการเติมตัวบ่งชี้นามวลีแปลงในภาษาไทยและภาษาจีน รวมถึงความแตกต่างของนามวลีแปลงกับหน้าที่ของคำในประโยคในภาษาไทยและภาษาจีน  ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน และนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ภีมพสิษฐ์ เตชะราชันย์.(2558).กระบวนการกลายเป็นคำไวยกรณ์ของตัวบ่งชี้นามวลีแปลง การ และ ความ ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย:จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2563). ระบบคำไทย. (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กิติมา อินทรัมพรรย์ และนัฐวุฒิ ไชยเจริญ. (2554). โครงการไวยากรณ์ไทยฉบับ ครอบคลุมภาษาย่อย เล่มที่ 1 เรื่อง ไวยากรณ์ภาษาไทยมาตรฐาน (รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Hu Yushu, Fan Xiao. (1994). Nominalization and Nominalization of Verbs and Adjectives. Journal of Chinese language, 1994 (02), 81-85. (In Chinese)