คุณภาพการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ศักชัย บัวทองจันทร์
ชาญยุทธ หาญชนะ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ โพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในพื้นที่อำเภอโพนนาแก้ว โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane. 1973 : 125) ได้จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน
          ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 4.14, S.D.= 0.21) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ( = 4.22, S.D.= 0.31) รองลงมาคือด้านการตอบสนองของผู้มาร้องเรียน/ร้องทุกข์/หรืออื่นๆ ( = 4.17, S.D.= 0.39) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการรู้จักและการเข้าใจผู้มาใช้บริการ ( = 4.07, S.D.= 0.35) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ได้แก่ ควรมีการจัดอบรมเรื่องกฎหมายต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องรองเรียน/ร้องทุกข์ ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น กฎหมายที่ดิน กฎหมายหนี้สิน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกขวัญ สังข์เพ็ง และ ณัฐวีณ์ บุนนาค.(2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลพบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์คณะสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิตยา พรมจันทร์ .(2562). แรงจูงใจและภาวะผู้นำที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในองค์กรยุค 4.0 กรณีศึกษา บริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน). คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประภาศรี พิษณุพงควิชชา และคณะ.(2558). รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินผลการดาเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมมิติใหม่. กรุงเทพมหานคร: สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. สถาบันดารงราชานุภาพ

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.