ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

ชนิภา สุวรรณพัฒน์
บุญเลิศ ธานีรัตน์

บทคัดย่อ

          ผู้บริหารโรงเรียนถือเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งหากผู้บริหารมีภาวะผู้นำสูงย่อมสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องมีการสร้างแรงจูงใจแก่ครูและบุคลากร เพื่อพัฒนาการบริหารงานไปสู่คุณภาพตามเป้าหมายที่วางไว้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครู 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 338 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .990 และ .985 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ       ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง                 ( r=.874***) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารควรยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น ใช้กระบวนการ PDCA เป็นหลักในการทำงาน สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและมอบหมายงานที่ท้าทายความสามารถ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจเมื่อปฏิบัติงานสำเร็จ ผลการวิจัยสามารถนำไปวางแผนและใช้เป็นกรอบในการอบรม เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ทองใบ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2564). บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4 (1), 326-327.

กฤติกา พิกุลทอง. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในองค์กร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

โกเมธ พิมพ์เบ้าธรรม. (2547). ภาวะผู้นำขอผู้บริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1-5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จีรนันท์ ปัณระสี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการทำงานของครูในถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุญเลิศ ตองติดรัมย์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ปกรณ์วิท กล้าหาญ. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและภาวะผู้นำของผบู้ริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรานีต จินดาศร และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 7 ในจังหวัด สระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พนิดา ผลบุญ. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พิณกาน ภัทเศรษฐ์. (2551). การแสดงหลักฐานความเที่ยวตรงตามโครงสร้างและความเชื่อมั่นของมาตรวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีรูปแบบต่างกัน สำหรับผู้เรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

พิรจิต บุญบันดาล. (2551). คุณลักษณะผู้นำยุคใหม่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับประสิทธิผลขององค์การ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพรินทร์ ขุนศรี. (2559). แรงจูงใจครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ้งทิพย์ คำแก้ว. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนะต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

วรรณฤดี มณฑลจรัส และ อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธของผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ กรณีศึกษาจังหวัดพัทลุง, วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 10 (2), 257.

วรวิมล ทองเยียม. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกลุ่มศรีเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). ทัศนะการทำวิจัยเพื่อเสนอเป็นผลงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (2), 3-15.

สิทธิ์ สิริพิเดช. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษากับการประกันคุณภาพภายในสหวิทยาเขตเทพนคร. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุทธิชา สมุทวนิช. (2563). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อดุล โตเขียว และ นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2563). รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (2), 525.

อรพรรณ เทียนคันฉัตร. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัครเดช สังสมศักดิ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Afshan Jabeenv. (2019). Relationship between Teacher Motivation and Leadership Styles: An Empirical Study of Public Sector Colleges of Punjab, Pakistan. Global Regional Review, Humanity Only. 4 (4), 412-423.

Al-Munnir Abubakar. (2017). Principal Leadership Style towards Teachers' Motivation on Secondary Schools in Nigeria. Advances in Social Science, Education and Humanities Research (ASSEHR). 1 (125), 87-89.

Bass, B.M. (1996). A new paradigm of leadership: an inquiry into transformational leadership.

Alexandria, VA: US Army Research Institute for the Behavioral and Social Sciences.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

House, Robert J. & Mitchell, R. (1977). Path-Goal Theory of Leadership. Journal of Contemporary Business. 16, 81-97.

Kouzes, James M. & Posner, Barry Z. (2002). The Leadership Challenge. San Francisco : Jossey Bass Publishers.

Leithwood, K. and Jantzi, D. (1996). Toward an Explanation of Variation in Teacher’s Perceptions of Transformational School Leadership. Educational Administration Quarterly, 32 (4), 512 - 538.

Manasse, A.L. (1986). Vision and Leadership : Paying Attention to Intention. Peabody Journal of Education. 69 (1), 150 – 173.

McClelland, D. C. (1961). The Achieving Society. New York : D. Van Nostrand.

Shepherd-Jones, Anna R. (2018). The Correlation between Teacher Motivation and Principal Leadership Styles. Journal of Research in Education. 2 (28), 93 -97.

Yuan-Duen Lee. (2018). Principals’ Transformational Leadership and Teachers’ Work Motivation: Evidence from Elementary Schools in Taiwan. The International Journal of Organizational Innovation, 3 (11), 90 – 105.