ความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดสตูล

Main Article Content

หมัดเฟาซี รูบามา

บทคัดย่อ

          การปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะไร้เสถียรภาพ หากบุคคลหรือสมาชิกที่เป็นพลเมืองของสังคมขาดแบบแผนของความเชื่อ ทัศนคติและค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เน้นการเข้ามามีส่วนร่วมหรือเสียงของประชาชน โดยใช้อำนาจนี้ผ่านทางองค์กรทางการเมืองต่างๆ ที่มนุษย์ได้ตกลงกันด้วยความสมัครใจ ทำสัญญากันเพื่อก่อตั้งรัฐ ให้ทำหน้าที่รักษาสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ โดยยึดหลักในการปกครองด้วยความเสมอภาค เสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ฉะนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กล่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่เข้าร่วมโครงการพลเมืองไทยในยุค 4.0 จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามความเป็นพลเมืองเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) คำนวณค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบตามลักษณะประชากรใช้สถิติ T-test
          ผลการศึกษาความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พบว่า
            1) นักเรียนมีความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.23 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ 1. ด้านการให้ความสำคัญกับวิถีวัฒนธรรมสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.38 2. ด้านให้ความสำคัญกับการเป็นพลเมืองที่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.35, 3. ด้านการให้ความสำคัญกับชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเท่ากับ 4.17 และ 4. ด้านการให้ความสำคัญกับอิสรภาพ ความก้าวหน้า และทันสมัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเท่ากับ 3.99 ตามลำดับ
          2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามลักษณะประชากร พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ที่มีเพศแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุ และระดับชั้นมัธยมศึกษาแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. รายงานการประชุมทางวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560).การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประภัสสร ไพบูลย์ฐิติพรชัย. (2553). การศึกษาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนพณิชยการบาง บัว ทองจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การจัดการภาครัฐและเอกชน). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมเดช นามเกตุ. (2561). การปลูกจิตสํานึกทางจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารปัญญาปณิธาน. 3 (1), (13-27).

เสกสรรค์ สนวา, อภิชาติ ใจอารีย์ และ ระวี สัจจะโสภณ. (2564). สังเคราะห์กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นชุมชนประชาธิปไตย. วารสารการเมืองการปกครอง. 11 (3),45-65.

หมัดเฟาซี รูบามา, จิตกรี บุญโชติ, นพวัลภ มงคงศรี และ สุกรี บุญเทพ. (2560). ความเป็นพลเมืองตาม ระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัย (Proceeding) ในรายงาน สืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ สันติภาพสากลครั้งที่ 2 สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .

หมัดเฟาซี รูบามา และคณะ. (2564). ความเป็นพลเมืองตามระบอบ ประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนรัตภูมิวิทยา จังหวัดสงขลา . วารสารการวิจัย (Proceeding) ในรายงาน สืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติและ นานาชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Faulks, Keith, (2000). Citizenship. Routledge, London.

Margot Prior, Ann Sanson, Diana Smart and Frank Oberklaid (2000). Pathways from infancy to adolescence AUSTRALIAN TEMPERAMENT PROJECT 1983–2000. Online. Retrived on 20 May 2021. from: https://www.theactgroup.com.au/documents/ AustralianTemperamentProject1983-2000.pdf

Portney, K.E., et al. (2009). Gender Differences in Political and Civic Engagement among Young People. Online. Retrived on 20 May 2021, from https://ase.tufts.edu/ polsci/faculty/eichenberg/NiemiPortneyEichenbergAug26.pdf