ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในวิชาพระพุทธศาสนา ที่เรียนโดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)

Main Article Content

จตุพล ิิิิิิิิิบุญธรรม
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่องพุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่างๆ และสรุปพุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  จำนวน 2 ห้อง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 35 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 จำนวน 32  คน รวมนักเรียนทั้งหมดจำนวน 67 คน ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แบบทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (dependent) ผลการวิจัย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) พุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่างๆ และสรุปพุทธประวัติมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้ง ไว้ คือ 80/80  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่องพุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่างๆ และสรุปพุทธประวัติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่องพุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่างๆ และสรุปพุทธประวัติ อยู่ในระดับมาก ( X =4.07 S.D.= .54)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิตานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทมหานคร: อรุณการพิมพ์.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559).การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวัฒน์ เต็มไชยวณิช. (2552). มหัศจรรย์สร้างเว็บไซต์แบบมืออาชีพ ด้วยโปรแกรม XOOPS&E-Book.เชียงใหม่: บริษัท ฐานบัณฑิต จำกัด.

นาวิก วัฒนะกิจ. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องพระธรรม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ้งเพชร แข็งแรง. (2555). การพัฒนารูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไป (รายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม). การประชุมสัมมนาเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

Higgins, C. & Hess. (1998). Affective disposition and the letter of reference. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 75, 207-221