แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบ้านเกาะ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

สุริยา สงทอง

บทคัดย่อ

          แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบ้านเกาะ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง การศึกษาครั้งนี้ศึกษาโรงเรียนวัดบ้านเกาะ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะครูโรงเรียนวัดบ้านเกาะ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 18 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 221 คน รวมทั้งหมด 249 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูโรงเรียนวัดบ้านเกาะ จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 3 คน และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในด้านจิตวิทยาและการแนะแนว จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
           ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดบ้านเกาะ แผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน ไม่มีการบันทึกข้อมูล ครูขาดความรู้ ประสบการณ์ ด้วยภาระงานต่าง ๆ ค่อนข้างมาก จึงไม่สามารถติดตามดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ร่วมถึงผู้ปกครองหรือหน่วยงานภายนอก ไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน และได้แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมนักเรียนและพัฒนานักเรียน 4) การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข 5) การส่งต่อนักเรียน ผลการประเมินแนวทางโดยผู้บริหารสถานศึกษา ครูโรงเรียนวัดบ้านเกาะ และผู้ปกครองนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพอ์งคก์ารรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กัญญา แสงเจริญ โรจน์. (2553). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองมะปริง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จรินทร์ ชูนาวา. (2564). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยนครราชสีมา.

จุฑามาศ พันสวรรค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เฉลิมพงษ์ สุขสมพนารักษ์. (2561). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านช่างหม้อ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ณัฐฐิญา ใจสุทธิ. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านตรอกนอง (ประทีปวารีราษฎร์วิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐนียา ห้องกระจก. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ณัฐริน เจริญเกียรติบวร. (2561). โมดูลการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดารารัตน์ สุนทรมณีรัตน์. (2555). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 – 5 . วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษา โรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดบ้านเกาะ. (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบ้านเกาะ. อุตรดิตถ์: โรงเรียนวัดบ้านเกาะ.

พิชชาภัทณ์ คนสมบูรณ์. (2562). คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา ประจำปี 2562. เพชรบูรณ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1.

เพ็ญศรี นิตยา. (2551). สภาพและปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มธุริน แผลงจันทึก. (2554). การศึกษาปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

รัชนู แก้วแก่น. (2561). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิรากานต์ บุตรพรม. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการเรียนรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีของสถานศึกษา. กรุงเทพมมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.