ความต้องการของผู้นำชุมชนในอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของวิทยาลัยพิชญบัณฑิต

Main Article Content

ปรีชา พันธ์สีดา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้นำชุมชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของวิทยาลัยพิชญบัณฑิต และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้นำชุมชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของวิทยาลัยพิชญบัณฑิต จำแนกตามงาน 4 ด้านได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต  ด้านการวิจัย  ด้านการบริการวิชาการ  และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้นำชุมชนที่ดำรงตำแหน่ง กำนัน จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling ) สารวัตรกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 234 คน ได้มาโดยการ แบ่งชั้นภูมิ ( Stratified Sampling ) แล้วสุ่มแบบง่าย ( Sample Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความต้องการของผู้นำชุมชนที่ดำรงตำแหน่ง กำนัน สารวัตรกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของวิทยาลัยพิชญบัณฑิตในด้าน การผลิตบัณฑิต  การวิจัย  การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  F – test  ( One – Way  Anova )
          ผลการวิจัยพบว่าพบว่าผู้นำชุมชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุตัวอยู่ระหว่าง 51 – 59 ปี อยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีอายุการดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วง 6 – 10 ปี และมีวุฒิทางการศึกษาอยู่ในระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย มีความต้องการให้วิทยาลัยพิชญบัณฑิตทำการผลิตบัณฑิต  การให้บริการทางวิชาการ  การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการวิจัย โดยภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมาก 
          การเปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการผู้นำชุมชนที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของวิทยาลัยพิชญบัณฑิต เมื่อจำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง  อายุตัว  อายุงาน และระดับการศึกษา ที่มีต่องานทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต  ด้านการวิจัย  ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  พบว่า ผู้นำชุมชนมีความต้องการไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์. (2545). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตร อาวะกุล. (2540). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: เอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

วุฒิพงษ์ ฮำมวงศ์. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลบ้านต้าย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร