วัฒนธรรมองค์กร : เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

Main Article Content

ศุภวรรณ คงเสมา
สุภาษา บุญยงค์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          วัฒนธรรมองค์กรเป็นเหมือนหัวใจที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะองค์กรมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีก็จะส่งผลให้ทิศทางในการทำงานของพนักงานเป็นไปอย่างชัดเจนและเหมาะสม นำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันบนเงื่อนไขสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร พบว่า การแข่งขันทางธุรกิจในบริบทโลกนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ความได้เปรียบในการแข่งขันจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความอยู่รอด และการเติบโตของผลการดำเนินงานขององค์กร ทรัพยากรพื้นฐานขององค์กรหรือทุนองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นองค์ประกอบหลัก เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรตระหนักถึงการบริหารจัดการความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรม ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร เพื่อให้วัฒนธรรมเหล่านั้นเข้าไปมีส่วนในการสร้างเสริมความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กรให้เพิ่มขึ้น อันจะส่งผลต่อความเข้มแข็งและยั่งยืนขององค์กรในระยะยาวตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

วิทยาธร ท่อแก้ว. (2565). การสร้างวัฒนธรรมองค์กร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา : https://www.stou.ac.th/SchoolsWeb/commarts/UploadedFile.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2554). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: แซท โฟร์ พริ้นติ้ง.

ฐานปนา ฉิ่นไพศาส. (2559). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พยัค วุฒิรงค์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธรรม รัตนโชติ. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

Barney, J.B. (1991). Firm Resources and Sustainable Competitive Advantage. Journal of Management. 17, 95-120.

Bartlett, M. (2012). Organizational Culture and Organizational Structure : a Competing ValuesApproach., Research in Organizational Change and Development. London : JAI Press.

Cameron, K.S. and Quinn, R.E. (1999). Diagnosing and Changing Organizational Culture. Massachusetts : Addison-Wesley.

Hofstede, G. et al. (1990). Measuring Organizational Cultures : a Qualitative and Study Across Twenty Cases. Administrative Science Quarterly. 35(2) : 286-316.

Lioukas, B. (2012). Value, Rareness, Competitive Advantage, and Performance : A Conceptual Level Empirical Investigation of the Resource-based View of the Firm. Strategic Management Journal. 29 : 745-768.

Porter, M.E. (1998). Clusters and Competition : New Agendas for Companies, Governments, and Institutions. In M.E. Porter (ed.), On Competition. Harvard Business School Press.

Schermerhorn, J.R., Hunt, J.G. & Osborn, R.N. (2003). Organizational Behavior. (8thed). NY : John Wiley & Sons.

Champoux, J.E., (2006). Organizational Behavior. (3rded.). Ohio : Thomson South-Western.