จากมุมมองการบริหารผลงาน การบริหารคนเก่งสู่แนวทาง การบริหารทรัพยากรมนุษย์

Main Article Content

จิรเมธ จันทโชติ
จิรัฏฐภัทร ทราฤทธิ์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้เกิดจากคำถามว่าแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรเป็นอย่างไร เพื่อทำให้ผลการปฏิบัติงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย และองค์การมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูงอยู่ในองค์การ โดยอาศัยแนวคิดการบริหารผลงานและการบริหารคนเก่ง ซึ่งองค์การต่าง ๆ ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ แต่เนื่องจากการนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้ไม่ได้มีวิธีการที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ของแต่ละองค์การ และความสอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทอื่น ๆ ขององค์การด้วย การนำแนวคิดทฤษฎีไปสู่การปฏิบัตินั้นจึงพบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ 1) ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและมีบทบาทในการสนับสนุนงบประมาณ การให้คำมั่นสัญญา การสื่อสาร การมอบหมายงาน การสอนงาน และการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 2) หน่วยงานด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การควรปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองเป็นผู้สร้างระบบการเรียนรู้ผู้อำนวยความสะดวก และผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) ผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ ควรให้ความร่วมมือตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ 4) องค์การควรบริหารงานแบบยืดหยุ่น 5) องค์การควรพัฒนาระบบการสื่อสารทั้งภายนอกและภายในองค์กร 6) องค์การควรพัฒนาความรู้และทักษะในการสอนงาน และการมอบหมายงานให้แก่หัวหน้างาน และ 7) การบริหารค่าตอบแทนควรชัดเจนและยืดหยุ่น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤติน กุลเพ็ง. (2552). ไม่อยากเสียคนเก่งในองค์การต้องทำอย่างไร. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ดนัย เทียนพุฒ. (2547). การพัฒนามูลค่าทุนมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มอานซ์ รี เสิร์ช.

ประภัสสร วรรณสถิตย์. (2550). การบริหารจัดการคนเก่ง (Essential Guide to Managing Talent).กรุงเทพมหานคร: เอ็กชเปอร์เน็ท.

พยัค วุฒิรงค์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักษณา ศิริวรรณ. (2556). หน่วยที่ 6 การประเมินผลการปฏิบัติงานและการบริหารผลงาน. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2552). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ : แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2555). คู่มือระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2550). การบริหารมนุษย์ให้สุดยอด. กรุงเทพมหานคร: พงษ์วรินการพิมพ์.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2553). ระบบบริหารผลงาน. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซนเตอร์.

Armstrong, M. and Baron, A. (1998). Strategic Human Resource Management: A Guide toAction. United Kingdom: Kogan Page.

Dessler, Gary. (2004). A Framework for Human Resource Management. New Jersey: Pearson Education.

Schweyer, Allan. (2004). Talent Management System: Best Practice in Technology Solution for Recruitment, Retention and Workforce Planning. Canada: John Wiley and Sons.

Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competence at Work. New York: John Wiley.

Waal, Andrede. (2007). Strategic Performance Management: A Managerial and Behavioral Approach. New York: Palgrave Macmillan.