การวิเคราะห์องค์ประกอบของการสร้างแรงบันดาลใจในยุคดิจิทัลของครู

Main Article Content

พนิดา พิมพ์จันทร์
หยกแก้ว กมลวรเดช
สุกัญญา รุจิเมธาภาส

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและระดับความคิดเห็นของการสร้างแรงบันดาลใจในยุคดิจิทัลของครู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนอยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการสร้างแรงบันดาลใจในยุคดิจิทัลของครูมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล มีค่าน้ำหนักขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง .520-.716 องค์ประกอบที่ 2 การปรับทัศนคติ  แง่บวก มีค่าน้ำหนักขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง .501-.737 องค์ประกอบที่ 3 การมีส่วนร่วมในทำงานร่วมกัน มีค่าน้ำหนักขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง .546-.812 องค์ประกอบที่ 4 การสนับสนุนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ  มีค่าน้ำหนักขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง .589-.690 และองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการความขัดแย้ง  มีค่าน้ำหนักขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง .669-.676 ทั้ง 5 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 58.803 สำหรับระดับความคิดเห็นของการสร้างแรงบันดาลใจในยุคดิจิทัลของครู พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านการปรับทัศนคติแง่บวก มีค่าเฉลี่ย (  = 4.38) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= .02) และองค์ประกอบที่มีระดับความสำเร็จน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.14) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= .10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, (2562). จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564 แหล่งที่มา: https://edc.moe.go.th/

กฤติพงศ์ โภคาพานิช. (2563). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กาญจนา จันทร์ประดิษฐ์. (2558). รูปแบบการเสริมพลังอานาจการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธนพรรธ อนุเวช. (2564). แนวทางการสร้างเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8 (7), 185-198.

ปรารถนา หลีกภัย. (2564). การจัดการความขัดแย้งจากการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดตรัง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 19 (1), 93-113.

ปริยาภรณ์ ตั้งคณานันต์. (2557). พื้นฐานและหลักการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

ผกาวลี เกียรติไกวัล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พาตีฮะห์ เดเบาะ. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พารดี เพ็ชรชนะ. (2563). แนวทางการสร้างบรรยากาศองค์กรของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เมธประจักษ์ เติมกิจขจรสุข. (2562). รูปแบบเทคนิคการพูดสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานจิตอาสาโดยพุทธสันติวิธี (รายงานผลการวิจัย). วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย กรุงเทพฯ.

ราศรี สวอินทร์ และคณะ. (2562). การสร้างแรงบันดาลใจจากครูต้นแบบเพื่อพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องของนักศึกษาวิชาชีพครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วณิชชา แม่นยา และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศศิวิมล พงษ์พโรจน์. (2558). การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิริพร บุษบง. (2559). บทบาทของผู้บริหารและแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาสร้อยดอกหมาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศิษฏ์ชนา ดวงบาล. (2562). แนวทางการพัฒนาครูด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 10 (1), 242-253.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16 (1), 353-360.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2563). จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564 แหล่งที่มา: https://sesa.obec.go.th/

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรพิมพ์ รักษาผล. (2560). ทำอย่างไร...ในวันที่ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน [วิดีโอ ไฟล์]. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564 แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v= Q4cj Qvn_VMc