การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านแพะตีนดง ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ธัชพล ทีดี
จุฑามาศ พรรณสมัย
ชลิดา แสนวิเศษ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาแนวการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลที่เหมาะสมในชุมชนบ้านแพะตีนดง ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นําชุมชน ข้าราชการ/ข้าราชการเกษียณอายุ ประชาชนที่อาศัยในชุมชน นักวิชาการ และ ผู้ประกอบการธุรกิจขยะ จำนวน 16 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) และการประชุมแนวทางในอนาคต เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา        
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชนบ้านแพะตีนดง ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี การจัดตั้งธนาคารขยะ มีความเป็นไปได้ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค ให้ความสำคัญต่อปัญหาขยะพร้อมสนับสนุนงบประมาณจัดตั้งด้านวัสดุอุปกรณ์  และมีความคุ้มค่าในเรื่องผลตอบแทน  มีการวางแผนพัฒนา 5 ปี  (พ.ศ. 2561 - 2565) การบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิล อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพุแค ในรูปแบบคณะกรรมการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
          2. ขั้นตอนการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล ประกอบด้วย (1) ประชุมชี้แจงแนวคิดการจัดตั้งธนาคารขยะ (2) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ (3) จัดประชุมประชาคม (4) องค์การบริหารส่วนตำบลพุแค ออกระเบียบการจัดการธนาคารขยะรีไซเคิล (5) รับสมัครสมาชิก และ (6) ขั้นตอนสุดท้ายรับซื้อขยะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). คู่มือประชาชนเพื่อการลด คัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย. กรุงเทพมหานคร:

กชกร พับลิชชิง.

กองสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น. (2563). แผนปฏิบัติการ “จังหวัดสะอาด”3Rs-ประชารัฐจังหวัดสระบุรี. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

ณรงค์ เลาอลงกรณ์. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะและวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียนบ้านสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าแบบอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทศบาลตำบลหน้าพระลาน. (2562). กองทุนธนาคารขยะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564. แหล่งที่มา:https://www.naphralan.go.th/news_detail.php?hd=1&doIP=1&checkIP=chkIP&id=12690&checkAdd=chkAd&dum=43169_ypk.

ธัชพล ทีดี, จุฑามาศ พรรณสมัย, และชลิดา แสนวิเศษ, (2565). การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านแพะตีนดง ตําบลพุแค อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. รายงานการวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นิชนันท์ ปฏิทัศน์. (2560). แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิติธร วรรณกลัด. (2552). การประเมินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ตามแนวทางการประเมินเชิงสมดุล (Balanced Scorecard). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศรัณรัตน์ ศิลปักษา และผ่องพรรณ มุริกานนท์. (2562, พฤษภาคม - มิถุนายน). การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28 (3), 384-393.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). การจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย. กรงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 สระบุรี. (2564). สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดเขตรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 สระบุรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.mnre.go.th/reo07/th/information/more/456

อรพรรณ ทัพชัย, และ วิจิตรา ศรีสอน. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสาร การบริหาร-นวัตกรรมท้องถิ่น. 6 (3), 29-42.