ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 294 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนทางสังคมต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศและสถานภาพการสมรส ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ(หลังเกษียณ) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ พบว่า มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม ทุกด้านสามารถร่วมกันทำนายระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ได้ร้อยละ 57.60
Article Details
References
กนกอร เลิศลาภ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2563). อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จิรัชยา เคล้าดี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันรัชตภาคย์ วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร.
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูณ์. วิทยานพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรางค์ทิพย์ ศรีไทย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิมพ์อพิชยา อินทร์โสภา. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยเขตจังหวัดสมุทรปราการ. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Yamane, Taro., (1981). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. New york: Harper and Row Publication.