การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.83/82.23 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กิตติกุล แก้วกาหลง. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 13 (3), 45–58.
จงกล วจนะเสถียร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยวาฤทธิ์ สร้อยเงิน. (2553). การพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมซินเนคติคส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ณัฐณิชา จิตตะคาม. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษายุคใหม่. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มยุรา กล่อมเจริญ. (2559). การใช้กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีสแกฟโฟลด์เพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินธ์ ศรีพลพา. (2557). การพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สุพิชญา วัลลิยะเมธี. (2560). รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ เพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อติยศ สรรคบุรานุรักษ์, ธนาเทพ พรหมสุข. (2560). ซินเนคติกส์: รูปแบบการสอนที่ส่งเสริม นวัตกรรมและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 10 (3), 2555–2566.
อัมพร นันทะเสนา. (2560). การศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อารี พันธ์มณี. (2560). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การคิดเชิงสร้างสรรค์. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.).
ฮิวจ์ เดลานี. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา http://swis.acp.ac.th/html_edu/cgi-%09bin/acp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=6238
Göçen, G. (2019). The effect of creative writing activities on elementary school students’ creative writing achievement, writing attitude and motivation*. Journal of Language and Linguistic Studies. 15 (3). https://doi.org/10.17263/jlls.631547
Maslow. (1970). Motivation and Personarity. Harper and Row.