แนวทางการนิเทศภายในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยม จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

วราภรณ์ ต๊ะอุป
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
วจี ปัญญาใส ปัญญาใส

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในและศึกษาแนวทางการนิเทศภายในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยม จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และครู 260 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน รวม 278 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในของโรงเรียนมัธยม จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการนิเทศภายในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนมัธยม จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ โรงเรียนแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกคนเป็นคณะกรรมการนิเทศภายใน
โดยคณะกรรมการต้องนำข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ ผลการนิเทศจากปีการศึกษาที่ผ่านมาและนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มาวางแผนการนิเทศภายในให้เหมาะสมและสอดคล้องกับยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ เชิญศึกษานิเทศก์จากเขตพื้นที่มาร่วมเป็นคณะกรรมการนิเทศ มีโครงการและกิจกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการนิเทศภายในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ จัดทำคู่มือการนิเทศภายในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่เพื่อให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามแผนการนิเทศได้
อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตลอดจนจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการนิเทศภายในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่
แจ้งต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและเผยแพร่ต่อสาธารณะ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2563). การสนทนากลุ่ม : เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 12 (1), 17-30.

จริยาภรณ์ เรืองเสน. (2563). แนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2558). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิรุทธ์ นันทมาศวังนรา. (2560). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาทีมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปริศนา กระสังข์. (2563). การดำเนินการนิเทศภายในเชิงระบบของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8 (32), 187-190.

พงษ์ศักดิ์ ทองไชย. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พุทธชาด แสนอุบล. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 15 (70), 171.

เพิ่มพูล ร่มศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไพลิน สุมังคละ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มาริสา ทองคำ. (2560). แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาของอำเภอสรรคบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 10 (3), 545-556.

วนิดา ภูวิชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณภา ธรรมขันธ์. ( 2562). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7 (28), 192-193.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัฒฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจารณ์ พินิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพลับลิเคชั่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์. (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพ และมาตรฐานการบริหารจัดการศึกษา (รายงานการประชุม). พิษณุโลก: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.