ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุ ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วิรมน ศรคม
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

          การแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายเป็นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่ผลการประเมินในระดับชาติและระดับนานาชาติ ยังคงสะท้อนให้เห็นว่ามีนักเรียนไทยจำนวนไม่น้อยที่ขาดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เหล่านี้ งานวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมาย เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และ 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ใบกิจกรรม 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบสังเกตความสามารถในการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า
          ผลการวิจัย  1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีประเด็นควรเน้น ได้แก่ การทบทวนความรู้พื้นฐานให้แก่นักเรียนโดยสามารถใช้วิธีที่หลากหลาย การใช้คำถามกระตุ้นคิดกับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมของนักเรียน อีกทั้งสถานการณ์ปัญหาที่ครูกำหนดต้องมีความท้าทาย และมีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย และ 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนิสรา เรื่องนุ่น (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการ กลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาทที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและการ สื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล (2553). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยประยุกต์รูปแบบ 4 ขั้นตอนของ สเติร์นเบิร์กเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลฐวัตร ฉิมทอง (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และ ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา ผาระนัด และประสาท เนืองเฉลิม. (2561). การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล: ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตใน ศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37 (2), 174-181.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: 3-คิว มีเดีย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา : https://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5b7zSc UJOOV9ldUNfTlk/view

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

ขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/pdf_1620890316.pdf

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: โรงพิมพ์จุลดิสการพิมพ์.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพทางวิชาการ.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hiebert, J., Stigler, J., Jennifer, K.W., Jacobs, Givvin, B.K., Garnier, H., Smith, M., Hollingsworth, H., Manaster, A., Wearne, D., & Gallimore, R. (1999). Mathematics Teaching in the United States Today (and Tomorrow): Results From the TIMSS 1999 Video Study. American Educational Research Association. 27(2), 111-132

Kennedy, L., and Tipps, s. (1994). Guidling children’s learning of mathematics. Belmont, Ca:Wadsworth Pub. Co.

Knudsen, J., Stevens, H., Meloy, T., Kim, H., & Shechtman, N. (2018). MathematicalArgumentation in Middle School–The What, Why, and How. California: Corwin.

Krulik, S., and Reys, R. E. (1980). Problem Solving in School Mathematics: National Council of Teachers of Mathematics 1980 Year Book. Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.

National Council of Teachers of Mathematics. (1989). Curriculum and evaluation standards for school mathematics: National Council of Teachers of Mathematics.

National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principle and standards for school mathematics.Reston, Virginia: National Council of Teacher of Mathematics.

Rumsey, C., & Langrall, C. (2016). Promoting Mathematical Argumentation. Teaching Children Mathematics, 22(7), 412–419.

Sampson, V., & Gleim, L. (2009). Argument-driven inquiry to promote the understanding of

important concepts and practices in biology. The American Biology Teacher.

Stigler & Hiebert, J. (1999). The Teaching Gap: Best Ideas from the world's Teachers for Improving Education in the Classroom. New York: The Free Press.; 1999.