แนวทางการบริหารหลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต1

Main Article Content

ปิยธิดา แก้วปลาด
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
วจี ปัญญาใส

บทคัดย่อ

          หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายให้อัญเชิญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้จึงทำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยให้โรงเรียนในสังกัดจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นการบริหารหลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) หาแนวทางการบริหารหลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือ รักษาการ 141 คน และครูวิชาการ หรือ ครูแกนนำ 141 คน รวม 282 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นการบริหารหลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารหลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 7 ด้าน สรุปได้ดังนี้ โรงเรียนกำหนดนโยบายโดยคำนึงคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง 2 เงื่อนไข 4 มิติ 3 ศาสตร์ จัดการเรียนรู้โดยศึกษาสภาพปัญหาแล้วพัฒนาครูให้สามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทุกกลุ่มสาระ จัดกิจกรรมเรียนรู้เน้นการลงมือปฏิบัติจริง สนับสนุนงบประมาณและจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียนเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ พัฒนาเครื่องมือการวัดที่หลากหลายเพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีการนิเทศการศึกษาแล้วรายงานและเผยแพร่ผลการพัฒนานักเรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐริการ์ แก่นดีลัง. (2560). ความหมายหลักสูตร. ออนไลน์. สืบค้นค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา:

https://www.gotoknow.org/posts/372468.

ปรัชญา พลพุฒินันท์. (2564). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: http://www.loeitech.ac.th/webetc/economy/popeng.html.

ไปรยาลภัส สหพัฒนสมบัติ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถใน

การแก้ปัญหา เรื่อง เศรษฐกิจกับการพัฒนาประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ

วัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา

หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และคณะ. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบรูปธรรมทักษะใน

ศตวรรณที่ 21. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). บทเส้นทางสร้างคนดี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง

จำกัด.

สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิทย์ มูลคำ. (2551). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:

ภาพพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต1. (2562). แบบรายงานสรุปผลการดำเนินตาม

แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้และยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการ ตามหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 43 (1), 46.

เอมมิกา มโนคำ. (2560). การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนขยาย

โอกาสทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายอุดรพัฒนาการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 10 (2), 186.

Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill Book Company Inc.