การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องรูปสี่เหลี่ยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์เป็นทักษะหนึ่งที่มุ่งเน้นให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน โดยใช้ความรู้คณิตศาสตร์ผนวกกับการคิดสร้างสรรค์ที่จะส่งผลให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในศตวรรษนี้ งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางและศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องรูปสี่เหลี่ยม ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 คน ของโรงเรียนเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า แนวทางจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์นั้น ครูควรใช้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดที่สอดคล้องกับบริบทในชีวิตจริงและเหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการตั้งปัญหาคณิตศาสตร์ให้มีความหลากหลาย และร่วมกันระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการหาคำตอบของปัญหา พร้อมกับการนำเสนอหน้าชั้นเรียนร่วมกันให้เกิดการวิพากษ์และแสดงเหตุผลสนับสนุนชิ้นงานของกลุ่มตนเอง เพื่อประเมินและปรับปรุงชิ้นงานให้เกิดความสร้างสรรค์ และผลของการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ทักษะการค้นพบปัญหา ทักษะการค้นพบความจริง ทักษะการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา ทักษะการค้นพบแนวคิด และทักษะการสร้างสรรค์ความรู้ ตามลำดับ
Article Details
References
กันตาธรณ์ ฆ้องย่ำ. (2560). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิดเพื่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิณดิษฐ์ ลออปักษิณ. (2558). ผลของการใช้สารคดีบทนำคณิตศาสตร์ ที่มีต่อเจตคติและการเห็นคุณค่าของสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9 (2), 37-50.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ปลุกโลกการสอนให้มีชีวิต ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่. นนทบุรี: สหมิตร พริ้นติ้ง แอนด์พับลิสชิ่ง.
ปิยาภรณ์ ขาวทอง. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รุจิราพร รามศิริ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.newonetresult.niets.or.th/Announcement Web/Login.aspx
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: จุลดิส การพิมพ์.
สุชีรา ศุภพิมลวรรณ. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสาร
บัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 15 (2), 189-199.
อาทิตยา จิตร์เอื้อเฟื้อ. (2563). การพัฒนาการรู้สะเต็มของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ผ่านการมีส่วนร่วมชุมชนผนวกค่ายบูรณาการสะเต็มศึกษาในแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎ์ธานี. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (2), 302-315.
Isrok’ atun and Tiurlina. (2014). Enhancing students’ mathematical creative problem solving ability through situation-based learning. Online. Retrieved October 4, 2021. from http://www.iiste.org/Journals/index.php/MTM/article/viewFile/16376/16882
OECD. (2012). PISA 2012 Creative Problem Solving. Online. Retrieved October 4, 2021. from : https://www.oecd.org/pisa/innovation/creative-problem-solving/