การบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยอาศัยตารางสำเร็จรูปของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.8-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's post hoc comparisons method)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน 3) ครูในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน
Article Details
References
กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12. วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 2 (19), 1-6
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://pubhtml5.com/gqxf/yatn/basic.
จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID - 19 ระดับมัธยมศึกษาพื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. Rajapark Journal. 15 (40), 1-15.
โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31.การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8. วันพุธที่ 27 มีนาคม 2564.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2 (1), 1-10.
นัยนา อักษรมัต. (2563). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสำหรับการสอนออนไลน์ของครูในช่วงวิกฤตการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19. การศึกษาอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปราโมทย์ สุขสิริศักดิ์. (2563). การจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019:กรณีศึกษาโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช. วารสารพยาบาลทหารบก. 2 (21), 44-52.
ปิยวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://library.parliament.go.th/sites/default/ files/works/academic.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปการจัดการ. 3 (4), 783-795.
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬา-ขอนแก่น. 2 (7), 150-166.
ยุทธชาต นาห่อม. (2564). การบริหารสถานศึกษา บนฐานความปกติใหม่.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 3 (10), 545-556.
วิธิดา พรหมวงศ์. (2564). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์. 40 (15), 200-213.
สมพร ปานดำ. (2563). พลิกวิกฤตสู่โอกาสของอาชีวศึกษาไทยบนความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7 (5), 1-13.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์-ภาคย์. 15 (40), 33-42.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ศธ.เลื่อนเปิดเทอม จากวันที่ 1 มิ.ย. เป็นวันที่ 14 มิ.ย.. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.obec.go.th/archives/ 436838.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19: วิกฤติหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Fducation (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Cohen, Louis. Lawrence, Manion. & Keitth Morrison. (2011). Research Methods in Education. 7th Edition Routledge U.S.A.
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill