ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

กมลวรรณ เอื้องเพ็ชร์
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
สุกัญญา รุจิเมธาภาส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 (2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ.2562 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ องค์กรปกครอง     ส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 58 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหาร     ส่วนตำบล 40 คน ผู้อำนวยการกองการศึกษาหรือรักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองการศึกษา 40 คน นักวิชาการศึกษา 40 คนและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือรักษาการแทนหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 97 คน รวม 217 คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)  และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธี Enter เพื่อคัดเลือกตัวแปร
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย โดยภาพรวมและรายด้าน แต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านคุณภาพของครูผู้ดูแลเด็ก ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและด้านการจัดโครงสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามลำดับ
          2. ระดับความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย โดยภาพรวมและรายด้านแต่ละด้านในระดับมาก โดยด้านระดับความสำเร็จการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความพึงพอใจของครูและด้านคุณภาพของเด็ก ตามลำดับ
          3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย พบว่า สัมประสิทธิ์การทำนาย ( ) = 0.733 , F = 116.124 , p-value = 0.000** และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและปัจจัยด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านการจัดโครงสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัจจัยที่มีขนาดอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และปัจจัยด้านการจัดโครงสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ทัศนีย์ มณเฑียร และคณะ. (2564). คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 22 (1), 280-294.

ธิตินันท์ กุยรัมย์. (2562). การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน

, หน้า 14.

ศิริดาว โพธิ์สิงห์. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรีพร ฟากฟื้น. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1 (3), 29.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานการศึกษาสภาวการณ์การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

วิดาพร สุขแสงนิล. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ สถาบัน เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6 (2), 300-314.

วิภาพร ยืนยง. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ใน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.