การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง 3) ประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอยางในการวิจัยครั้งนี้เปนนักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา CCE4104 พฤติกรรมการสอนคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แผนการสอน สื่อวีดิทัศน์โมชันกราฟิกส์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด สำหรับแบบประเมินสมรรถนะ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบทดสอบแบบปรนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.33-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.897 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัย พบว่า
1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุก มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นให้ความรู้ ขั้นปฎิบัติและพยายาม ขั้นนำเสนอ และขั้นสะท้อนคิดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, S.D.=0.30)
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.93 ( =32.93, S.D.=4.45) สูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.14 ( =21.14, S.D.=2.79) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) สมรรถนะนักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์ พบว่า สมรรถนะของนักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์มีคะแนนสมรรถนะแบบทีแพคทั้ง 3 ด้าน ผลทุกด้านสูงกว่าร้อยละ 70 ทุกสมรรถนะ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในการแปลผลโดยภาพรวมสมรรถนะของนักศึกษาในการบูรณาการเทคโนโลยีกับการสอนและเนื้อหาอยู่ระดับสูง
4) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบสมรรถนะเชิงรุกบนสภาพแวดล้อมออนไลน์เพื่อพัฒนานักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ศึกษาแบบทีแพคของมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50, S.D.=0.68)
Article Details
References
จิรภา อรรถพร. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกออนไลน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยวัฒน ชุมนาเสีย และวานิช ประเสริฐพร. (2562). การเสริมสรางสมรรถนะการเรียนรูผูเรียน : บนฐานของปรัชญาการศึกษาและการเรียนรูเชิงรุก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิรน, 16 (2), 441-444.
ณัฐพงษ์ บางท่าไม้. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมตามแนวคิด TPCK Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับนิสิตครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วินัย เพ็งภิญโญ. (2563). การพัฒนารูปแบบระบบจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีส่วนเสริมด้วยกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อิษฏาภรณ์ นิยมวงศ์และฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์. (2561). นวัตกรรมการสอนของนิสิตครูกับเทคโนโลยีสารสนเทศ Thailand 4.0. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6 (1), 77-83.
Michel, N., Carter, J., and Otmar. (2009). Active Versus Passive Teaching Styles: An Empirical Study of Student of Student Learning Outcomes. Human Resource Development Quarterly, 20(4).
Mishra, P. and Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for teacher knowledge. Teachers College Record, 6 (6), 1017-1054.