การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเหล็กน้ำพี้เชิงประสบการณ์บนฐานชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนทองแสนขันวิทยา จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ทิวา ธิปัญญา
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเหล็กน้ำพี้เชิงประสบการณ์บนฐานชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้เรียน กลุ่มผู้ให้ความรู้ด้านแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น   กลุ่มบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มครูผู้สอนในโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 93 คน โดยมีขอบเขตพื้นที่การวิจัย คือ ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปอุปนัยโดยบันทึกพรรณนา ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ คือชั่วโมงสอนของครูผู้สอนมีเวลาจำกัดขาด    ความต่อเนื่องในการเรียน การปรับหลักสูตรใหม่ ขาดการใช้สื่อที่เหมาะกับกิจกรรมการเรียน และขาดความพร้อมของครูผู้สอน ผู้วิจัยจึงสร้างกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเหล็กน้ำพี้เชิงประสบการณ์บนฐานชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ภูมิศาสตร์ในท้องถิ่น ภายใต้กิจกรรม“ย้อนรอยเหล็กน้ำพี้” มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะจากการเรียนรู้ Active learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเชิงภูมิศาสตร์ เป็นสื่อการขับเคลื่อนการเรียนรู้
          ผลการวิจัยพบว่ามี 3 องค์ประกอบ คือด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ จากผลการวิจัยสามารถสรุปองค์ความรู้ของผู้เรียนได้ดังนี้ด้านความรู้ (Knowledge) ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องของภูมิศาสตร์  ในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ด้านทักษะและการปฏิบัติ (Practice) ผู้เรียนมีทักษะภูมิศาสตร์และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรท้องถิ่นให้กับผู้ที่สนใจได้ ด้านเจตคติ (Attitude) ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กนก จันทรา. (2563). การจัดการเรียนรู้เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ในวิชาสังคมศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563. แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th

ญาศินี เกิดปลเสริฐ. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 5 (2), 166-175.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11 (3), 183-188.

ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์. (2559). กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (1), 183-197.

อัจฉรา ศรีพันธ์. (2561). การจัดการศึกษาบนฐานชีวิตและการจัดการศึกษาบนฐานชุมชน. กรุงทพมหานคร: แดแน็กซ์อินเตอร์คอร์เปอร์เรชั่น.

Melaville, A., Berg, Amy C. and Blank, Martin J,. (2006). Community-Based. Learning: Engaging Students for Success and Citizenship.