การส่งเสริมการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังในอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิต
มันสำปะหลัง (3) ความรู้และการปฏิบัติในการส่งเสริมการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลัง (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลัง ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2564 จำนวน 312 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 176 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.40 ปี มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 21.41 ไร่ มีประสบการณ์การปลูกเฉลี่ย 13.39 ปี มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 3,205.45 กิโลกรัม
(2) เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 ส่วนใหญ่เก็บท่อนพันธุ์ไว้ใช้เอง มีการเตรียมท่อนพันธุ์
มันสำปะหลังก่อนปลูกและเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุ 12 เดือน (3) เกษตรกรมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรค
ใบด่างมันสำปะลังในระดับปานกลาง และส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในด้านการจัดการและควบคุมโรคใบด่าง
มันสำปะหลังมากที่สุด (4) เกษตรกรมีปัญหาด้านการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังอยู่ในระดับมาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขาดแรงงาน ขาดเงินทุน และมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เกษตรกรมีข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุด คือ ควรมีการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลัง รวมถึงการผลิตและการตลาด จากผลการวิจัยสามารถนำไปสู่แนวทางการส่งเสริมการจัดการโรคใบด่าง
มันสำปะหลังที่เหมาะสมต่อไป
Article Details
References
กรมวิชาการเกษตร. (2563). คู่มือการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและมีคุณภาพ. กรมวิชาการเกษตร.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). คู่มือโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง. กรมส่งเสริมการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชนิดา เกตุแก้วเกลี้ยง. (2557). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช
บุญถม คำภาค. (2557). การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรใน อำเภอวัฒนานครจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ปภาดา เผ่าเพ็ง. (2562). แนวทางการส่งเสริมเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลพันดุงอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พัทยา ชุมเพชร (2562). ความต้องการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอชัยบาดาล
จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ลิ้นจี่ เพ็ชรนิล. (2555). การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วันวิสา ศิริวรรณ์. (2563). การศึกษาอัตราการเกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังในท่อนพันธุ์สะอาด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 51 (2), 181-191.
ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ. (2564). วิเคราะห์สถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.nabc.go.th/disaster/baidang.
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว. (2564). ข้อมูลด้านการผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดสระแก้ว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: http://www.sakaeo.doae.go.th/site/?page_id =2039.
สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ ปี 2562-2565. จังหวัดสระแก้ว
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). การประเมินผลโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications.