การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นันทวัน วิรุณภักดิ์
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
อังคณา อ่อนธานี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ” มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) ทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรม โดยดำเนินใช้ตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 2 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านหนองตะเคียน อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 9 คน โดยการเลือกสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ (t-test)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. กิจกรรมการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประสิทธิภาพบทเรียน (E1/E2) เท่ากับ 11/77.78 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
          2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ หลังเรียน ( = 37.89, S.D. = 4.40)   สูงกว่าก่อนเรียน (  = 33.11, S.D. = 3.86) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=8.35,sig=.00)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7–20

บัณฑิต อนุญาหงส์. (2557). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานปฏิบัติเพื่อเพิ่มความสามารถในการเขียนของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น: สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา

ประกอบ กรณีกิจ. (2552). ผลของระดับความสามารถทางการเรียนรู้และแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมาสน์ งามอนันต์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เกมมีพีเคชันเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2558). ผลการใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: บั๊วกราฟิค.

รัตนา มหากุศล. (2540). การสอนทักษะการเขียน. ใน สุมิตรา อังวัฒนกุล (บรรณาธิการ), ชุดเสริมประสิทธิภาพครู แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารุณี พุ่มจันทร์. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วุฒิชัย เทียมยศ. (2563). การจัดการเรียนรู้ท้องถิ่นศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โศภิต คริเสถียร. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและการพูดภาษาเมียนมา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Jane Willis. (1996). A framework for task-based learning. Harlow: Longman Pearson Education.