การศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตในหอพักของนักศึกษาทุนนวัตกรรม ในสังคมพหุวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทและสภาพแวดล้อม 2) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและรูปแบบการใช้ชีวิตในหอพัก 3) เปรียบเทียบรูปแบบการใช้ชีวิตในหอพักจำแนกตามลักษณะทางประชากร และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันกับรูปแบบการใช้ชีวิตในหอพักของนักศึกษาทุนนวัตกรรมในสังคมพหุวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ประชากร คือ นักศึกษาทุนนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลฯ 158 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการดูแลหอพักนักศึกษา รวมทั้งสิ้น 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว การทดสอบค่าความสัมพันธ์ การพรรณนาเชิงวิเคราะห์และการวิเคราะห์เนื้อหา
พบว่า 1) หอพักนักศึกษาในมหาวิทยาลัยฯ มีทั้งหอพักชายล้วนและหอพักหญิงล้วนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยมีขนาดห้องพักประมาณ 12 ตารางเมตร มีห้องน้ำส่วนตัว มีระบบรักษาความปลอดภัย และมีกฎระเบียบชัดเจน 2) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของนักศึกษาทุนนวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรูปแบบการใช้ชีวิตนักศึกษาทุนนวัตกรรมฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) นักศึกษาทุนนวัตกรรมฯ เพศชายและเพศหญิงมีรูปแบบการใช้ชีวิตแตกต่างกัน และนักศึกษาทุนนวัตกรรมฯ ที่มีเชื้อชาติไทยมีรูปแบบการใช้ชีวิตในหอพักแตกต่างจากนักศึกษาทุนนวัตกรรมที่มีเชื้อชาติกะเหรี่ยงและเชื้อชาติไทยใหญ่ 4) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของนักศึกษาทุนนวัตกรรมมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับรูปแบบการใช้ชีวิตในหอพักในทิศทางเดียวกัน
Article Details
References
กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จารุวรรณ สุภาชัยวัฒน์ และคณะ. (2559). รูปแบบการใชชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ICMSIT 2016: International Conference on Management Science, Innovation, and Technology 2016.
ชุติมา ทวิชศรี. (2555). ทัศนะของนักศึกษาตอการจัดบริการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทวีพงษ์ ยุนุ๊. (2555). พฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาชายในหอพักมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (2), 227 – 248.
นฤมล ทองอนันต์. (2559). ระบบการจัดการนักศึกษาหอพักในวิทยาลัย โดยใช้ระบบการเช็คชื่อของวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559. งานวิจัยสถาบัน. วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.
นิพนธ์ เวียงจันทร์. (2553). การศึกษากิจกรรมที่ปฏิบัติในเวลาว่างของนักศึกษาที่อยู่หอพักในจังหวัด มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. (2543). รายงานการวิจัยเรื่อง หอพักกับการพัฒนานิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทบวงมหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ คงคาฉุยฉาย และ มานิตย แกววงษศิริ. (2554). รูปแบบการใชชีวิตของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย
อรรถเดช สรสุชาติ. (2563). สถิติประยุกต์และระเบียบวิธีวิจัย. ขอนแก่น: กรีนเนสไวด์ จำกัด.
Solomon, M. R. (1996). Consumer behavior (3rd ed.). Englewood Cliffs. New York: Prentice - Hall.
Shiffman and Kanuk. (2007). Consumer behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Nilda Tri Putri and Larisa Anggraini. (2018). Improving student satisfaction of Andalas University Dormitory through Service Quality and Importance Performance Analysis. IOP Conference Series Materials Science and Engineering. 319 (1), 012063