การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวินัยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวินัยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบวินัยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับวินัยของนักเรียนในโรงเรียน 3) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวินัยของนักเรียนในโรงเรียน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาวินัยของนักเรียนในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบวินัยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 วินัยในตนเอง มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความอดทน 2) ความรับผิดชอบ 3) การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานศึกษา 4) ความเชื่อมั่นในตนเอง 5) ความมีภาวะผู้นำ และ 6) ความตรงต่อเวลา สภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.70) ส่วนสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.45, S.D. = 0.88) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวินัยของนักเรียนในโรงเรียน มีค่าเท่ากับ 0.30 มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานศึกษา เป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.46) รองลงมาคือด้านความรับผิดชอบ (PNImodified= 0.41) และด้านความตรงต่อเวลา (PNImodified = 0.34)
Article Details
References
กาญจนา คิง. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างค่านิยม ความมีวินัยและความซื่อสัตย์สำหรับนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล 3“ยุติธรรมวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครสกลนคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). วินัยในตนเองและงานวิจัยทีเกี่ยวข้อง. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17 (1), 3-15.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุปผา หันทะยุง. (2554). การศึกษาวินัยนักเรียนในโรงเรียนวังหลังวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประจักษ์พร เกียรติศิริ. (2558). การพัฒนาแบบวัดความมีวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ทัศนียา แสนทิพย์. (2559). การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนนิคมสร้างตนเอง จังหวัดระยอง 4
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรทิพย์ โกกิลารัตน์. (2561). การพัฒนาวินัยนักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองแปน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ภาคภูมิ อิ่มสอาด. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. การวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สมบัติ พรธิอั้ว. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมหมาย วินทะไชย. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิริกร สินสม. (2558). ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สิรินาถ ธงศิลา. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. การวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2564). แผนพัฒนาการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2564 – 2566. สกลนคร: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
เบญญาภา หลวงราช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.