กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนชาติพันธุ์ไทยทรงดำ บ้านดอนทราย ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ศุลชัย สระทองหัก

บทคัดย่อ

          การศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน เพื่อความเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ในช่วงเวลาที่คนทั่วโลกประสบกับภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (VCOVID-19) และเพื่อส่งเสริมชุมชนให้มีอาชีพเสริมเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของชุมชนด้วย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างความรู้และการใช้ความรู้ของชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ปราชญ์ท้องถิ่นและผู้รู้ภูมิปัญญาในชุมชน 2) ผู้นำชุมชนและชุมชน และ 3) หน่วยงานราชการและเครือข่าย วิธีการศึกษา คือ 1) การสังเกตการณ์ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก และ 3) การสนทนากลุ่ม
          ผลการศึกษาพบว่า
          1) กระบวนการสร้างความรู้และการใช้ความรู้ของชุมชน
          2) กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน และ
          3)  การเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตจำนงค์ กิติกีรติ. (2532). การพัฒนาชุมชน : การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร.

ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2534). การพัฒนาเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและดเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2546). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2541). รายงานการวิจัยประกอบการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ประเด็นปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วิจารณ์ พานิช. (2546). การจัดการความรู้. เอกสารทางวิชาการ สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม.