การพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กนกวรรณ ดอนกวนเจ้า
อภิราดี จันทร์แสง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70  2. เพื่อศึกษาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบกับเกณฑ์ร้อยละ 70  3. เพื่อศึกษาการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบกับเกณฑ์ร้อยละ 70  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านคุยเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบ  2.แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3. แบบทดสอบการเรียนรู้คำศัพท์  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ Wilcoxon Singed – Rank Test
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 78.82 / 79.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 70/70
          2. ผลการศึกษาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบ พบว่า ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 79.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ผลการศึกษาการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบ พบว่า ทักษะการการเรียนรู้คำศัพท์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 78.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา สุจจานันท์. (2551). การเรียนการสอนโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจนจิรา ศรีทอง. (2562). การพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการสอน 2W3P ประกอบบทบาทสมมติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชไมพร ชาญวิจิตร. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง English in Daily Life ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ที่มีผลต่อความสามารถการฟังการพูดและความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงเดือน แสงชัย. (2539). กิจกรรมสนุกเสริมคำศัพท์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรนันท์ ศรีวิทัศน์. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้วิดีโอบนยูทูบร่วมกับแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษนําไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ไทยร่มเกล้า.

รมยาภรณ์ สุขเกษม. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นการฟัง - พูดและการเสริมแรงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาดาพับลิเคชั่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2.pdf .

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). แนวคิดและวิธีการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภา ฉายะบุระกุล. (2547). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิสรา สาระงาม. (2530). การสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Almurashi. (2016). The Effective Use of YouTube Videos for Teaching English. International Journal of English Language and Linguistics Research, 4 (3), 32– 47.

Berk, R. (2009). Multimedia teaching with video clips: TV, movies, YouTube, and mtvU in the college classroom. International Journal of Technology in Teaching & Learning,

(1).

Craik, F. I. M., & Lockhart, R. S. (1972). Levels of processing: A framework for memory research. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior, 11, 671-684.

Fleiss, J. L., Levin, B. and Paik, M. C. (2003). Statistical Methods for Rates and Proportions.Third Edition. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Jalaluddin M. (2016). Using YouTube to Enhance Speaking Skills in ESL Classroom. 50, 1–4.

Johnson, J. D. (1990). Effects of Communicative Factors on Participation in Innovations. Journal of Business Communication, 27 (1), 7–23.

Lado, R. (1996). Language Leaning Teaching and Learning English. New York: Mc Graw – Hill.

Long, M.H. & Richards, J. C. (1987). Methodology in TESOL, A Book of Readings. New York: Newbury House.

Ming, C. (2011). “EFL Teachers’ Attitudes toward Communicative Language Teaching in Taiwanese College”. Asian EFL Journal.

Nation I. S. P. (2001). Learning Vocabulary in Another Language. Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/CBO9781139524759.

Oller, J. W. (1979). English Testing at School. London: Longman Group.