ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส เขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ทิพยาภรณ์ สุนา
รัตนา กาญจนพันธุ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส เขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส เขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานโดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และใช้การกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 40 ข้อ ตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ได้ค่า 0.945 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ตามวิธีของ Scheffé ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส เขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมพบว่า มีการรับรู้อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่  ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ ทักษะเทคนิควิธี ทักษะการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล ทักษะมนุษยสัมพันธ์ และทักษะการสื่อสาร 2. ครูที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมแตกต่างกัน  ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมแตกต่างกัน  ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณิษฐา ทองสมุทร. (2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวง

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. วิทยาลัยนครราชสีมา.

นริศสรา บุญสอาด. (2563). ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา. ปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วณิชวรรณ รัตนจารุพิทักษ์. (2564). ทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์. มหาวิทยาลัย.

ศศิธร ชัยบูรณ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (6), 271-285.

สิริภรณ์ สุวรรณโณ. (2559). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม. วารสารวิชาการ. 13 (3), 202-215.

สุพรรษา ไตรรัตน์. (2562). การศึกษาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 2562.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคนอื่น ๆ, (2559). เทคนิคทางสถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Cohen, L., Manion. L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. London: Routledge