การประเมินผลโครงการตำรวจอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบแอปพลิเคชัน Police i lert u กรณีศึกษา กองบังคับการตำรวจนครบาล 6

Main Article Content

จีระ เลขะสันต์
ศาศวัต เพ่งแพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลโครงการตำรวจอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบแอปพลิเคชัน Police i lert u กรณีศึกษา กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินโครงการตำรวจอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบแอปพลิเคชัน Police i lert u กรณีศึกษา กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 และ (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงการตำรวจอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบแอปพลิเคชัน Police i lert u กรณีศึกษา กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจด้านงานป้องกันปราบปราม กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 จำนวน 196 นาย สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่าที ค่าเอฟ และทดสอบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการ LSD. 
          ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลโครงการตำรวจอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบแอปพลิเคชัน Police i lert u โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากในทุก ๆ ด้าน โดยอันดับที่หนึ่ง คือ ด้านสภาวะแวดล้อม รองลงมา คือ ด้านผลผลิตของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านปัจจัยนำเข้า โดยปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจต่างกันใช้งานแอปพลิเคชัน Police i lert u ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยด้านระยะเวลาในการรับราชการ สำหรับแนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชัน ควรพัฒนาให้มีความเสถียรและมีเมนูที่เข้าใจง่าย มีปุ่มแจ้งเหตุและยกเลิกเหตุ ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานีตำรวจในพื้นที่ปรากฏบนแอปพลิเคชัน ข้อเสนอแนะ ควรมีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้สนับสนุนในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ ทั้งนี้ควรจัดสรรบุคลากรที่รับผิดชอบให้สอดคล้องเพียงพอ อีกด้วย 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพัชร คลี่พันธุ์. (2555). การศึกษารูปแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตำรวจสายตรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 8. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

จิโรจ คูจะนา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ณัฐดนัย บำรุงศรี. (2562). แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "POLICE I LERT U".

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม. คณะรัฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุประวีน์ เขื่อนสุวงศ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริการองค์กรภาครัฐและเอกชน. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2562). สถิติการรับแจ้งคดี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : https://ict.police.go.th.

ศักรินทร์ วิชาธรรม. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล 7. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607 - 610.

Likert, Rensis. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw.

Stufflebeam, Daniel L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City: N.J.