การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้จุดมุ่งหมาย 1.) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 2.)เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 3.)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 184 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ( Kerjcie and Morgan อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด, 2556 : 43 ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.) การทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีผลประโยชน์ร่วมกัน 2.) การบริหารงานวิชาการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร 3.) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.
กายเพชร สมเพชร (2557). การศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
จริยา แตงอ่อน. (2559). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จารุกัญญา โกพล. (2562). การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนสหวิทยาพระธาตุมหาชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยบูรพา
ชัยวัฒน์ อุทธา. (2556). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์. 2 (1), 573-588.
ดุสิตา เลาหพันธุ์ และภัคณัฎฐ์ สมพงษ์ธรรม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีม ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดตราดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 9 (3),181-193.
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานเป็นทีมและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ไทย วัฒนาพานิช.
ทิลารัตน์ หนูปก. (2557). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทรงวุฒิ ทาระสา. (2549). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงาเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
.นิภาวรรณ์ ศิริ. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานศักราช 2551.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
บุญชม ศรีสะอาด (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาล สังกัดเทศบาลชลบุรี. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2552). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. กรุงเทพมหานคร: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
รัชนีกร สมทรัพย์. (2550). การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปีการศึกษา 2547 – 2548 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.
รัตณาภรณ์ ตาต้อง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย.
รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
สุนทร พลวงศ์. (2551). การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในสังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิกานต์ พันธ์โนราช. (2561). สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลาจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิวพร ละหารเพชร.(2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ตามหลักครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนัก นายกรัฐมนตรี.