ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน: กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครพิษณุโลก

Main Article Content

ทิวากร แสร์สุวรรณ
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า
          1) ระดับการรับรู้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกอยู่ในระดับปานกลาง โดยระดับการรับรู้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันขนาดเล็กจะสูงกว่าระดับการรับรู้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกอยู่ในระดับน้อย โดยด้านที่พบการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือด้านการต่อต้าน รองลงมาคือด้านการรณรงค์ให้ความรู้ และด้านการชี้เบาะแสตามลำดับ
          2) การรับรู้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก
          3) แนวทางส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก คือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะกฎหมายคุ้มครองผู้ชี้เบาะแสการทุจริต


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2564). เปิดสถิติ! คนไทยใช้ 'โซเชียลมีเดีย' อันดับ 1 ของโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/958161.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2563). การลดลงของดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของไทย ประจำปี 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=77164.

ณพัชร ประพันธ์พจน์ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทยโฮลดิ้ง จำกัด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ). 9 (1), 1224-1241.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). ‘Whistleblower’ กฎหมายไทยช่วยอะไรผู้เปิดโปงความจริง ?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2135651.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). สถิติใบสั่งจราจร 2563 คนไทยชักดาบไม่จ่าย 13 ล้านใบ กลางปีนี้เจอของจริง!. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/scoop/ theissue/2019647.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 11 (1), 32-45

พระปลัดเทียน พลวุฒฺโฒ. (2552). ธรรมาภิบาล : การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทย. วารสารดิฉัน. 1 (766), 1-12.

พัชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 12(2) : 37-54. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: http://ojslib3.buu.in.th/ index.php/law/article/view/7163.

รัตนพงษ์ สอนสุภาพ. (2554). ทุนนิยมพวกพ้องในประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบสฤษดิ์-ถนอมและระบอบทักษิณ. วารสารจันทรเกษมสาร. 17 (32), 82-89.

Morris, S.D. (2011). Forms of Corruption. CESifo DICE Report: journal for institutional comparisons. 9 (2), 10-14.