การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พระมหาสายัณห์ วงศ์สุรินทร์
สำราญ ศรีคำมูล
นฤมล ชุ่มเจริญสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีอายุและระดับชั้นต่างกัน เป็นการวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 110 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.861 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t- test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA )
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.69 และ σ = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านซื่อสัตย์สุจริต (µ = 3.72 และ σ = 0.33) ด้านมีจิตสาธารณะ (µ = 3.71 และ σ = 0.33) ด้านมุ่งมั่นในการทํางาน (µ = 3.70 และ σ = 0.32) ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (µ = 3.68 และ σ = 0.38) ด้านมีวินัย (µ = 3.68 และ σ = 0.31) และด้านใฝ่เรียนรู้ (µ = 3.68 และ σ = 0.28) ตามลำดับ
          2. เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามสถานภาพของบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน และนักเรียนที่มีระดับชั้นเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชญานิศ เลิกจันทร์. (2556). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเมืองพัทยา 7 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

น้องนุช ประสมคำ. (2546). บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

พระอำนาจ อตฺถกาโม (น้อยนิล). (2554). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุจิตตรา บัวขันธ์. (2557). รูปแบบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนทรี จูงวงศ์สุข. (2547). ศึกษาการใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสกสรรค์ สนวา, อภิชาติ ใจอารีย์ และระวี สัจจโสภณ. (2564). สังเคราะห์กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นชุมชนประชาธิปไตย. วารสารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11 (3), 45-65.

อนงค์ จันใด. (2550). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. สาระนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โอภาส ยติกร. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านประโดก โคกไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.