ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสหวิทยาเขตชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

ชญาภา ดวงมาลัย
รัตนา กาญจนพันธุ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในสหวิทยาเขตชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และ ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในสหวิทยาเขตชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 132 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.965 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในสหวิทยาเขตชลบุรี3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในสหวิทยาเขตชลบุรี3 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมรายด้านแตกต่างกัน 4) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความไว้วางใจ และด้านความเป็นผู้นำด้านคุณธรรม แตกต่างกัน ส่วนด้าน ความซื่อสัตย์และความยุติธรรม พบว่า ไม่แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ บุญเรือง. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาล าปาง เขต 3. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10 (10), 1409-1426.

เกวลิน เมืองชู. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1.วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน. 6 (3). 76-88.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 51 ง. 37-56.

ชัชวาล แก้วกระจาย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัด ศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก. 10 (3), 54-65.

ชุติมา รักษ์บางแหลม. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม: หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 8 (1). 168-181.

ธนิกา กรีธาพล. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 13 (2), 214-225

ดวงฤดี ศิริพันธุ์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของ ครูโรงเรียนการกุศล ของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงาน การศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา.: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาตินานาชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทาง สังคมศาสตร์. 7 (3), 17-25

สุทธิพงษ์ทะกอง. (2561). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงคุณธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 8 (1), 49-58

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2560). จริยธรรมสําหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: ทองกมลจํากัด

หนูไกร มาเซค. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกำรศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

หงษา วงจำปา. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อำนวย ทองโปร่ง. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 47 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 18 (83), 36-43.

Berghofer, D., & Schwartz, G. (2008). Ethical leadership: Right relationshipsand the emotional bottom line the gold standard for success. Online. Retrieved February 3, 2020 from http://www.newparadigmjournal.com/Oct2008/ethicalleader ship.htm

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York : Harper and Row.

Brown, M. E., & Treviño, L. K. (2006). Ethical Leadership: A Review and Future Directions. The drive and national achiement. Haw

Cohen, L., L. Manion, and K. Morrison. 2011. Research Methods in Education - 7th Ed. London and New York: Routledge.