ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่

Main Article Content

ธิดารัตน์ อินทรเสนี
ละมุล รอดขวัญ
มังกรแก้ว ดรุณศิลป์

บทคัดย่อ

          บรรยากาศในองค์การมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นอย่างยิ่ง หากหน่วยงานใดมีบรรยากาศองค์การที่ดีย่อมทำให้สมาชิกในองค์การนั้นมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การด้วย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) บรรยากาศองค์การในโรงเรียน 2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 327 คน โดยใช้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน ที่ระดับ  ความเชื่อมั่น 95% จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .944 และ .929 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) บรรยากาศองค์การ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีทุกด้าน 2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง ( r = .821) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ คือ การปฏิบัติงานในองค์การนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักแล้ว ควรมีการแสดงความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความจริงใจ เคารพให้เกียรติผู้อื่น มีความอดทนอดกลั้น มีการแสดงความร่วมมือในเรื่องต่าง ๆ และปฏิบัติตนตามกฎระเบียบที่องค์การกำหนดอย่างเคร่งครัด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลกาญจน์ อรุณรัตน์. (2563). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (1), 18-26.

กนกกรณ์ เซ็นกลาง. (2563). บรรยากาศในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานเอกชนในจังหวัดสระบุรี. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐาปณี บุณยเกียรติ. (2559). การรับรู้บรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันขององค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิดที่ดีของพนักงานต่อองค์การ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นภาพร คุณหงษ์. (2561). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลกรุงสยาม เซนต์คาร์ลอส. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เบญจวรรณ ศฤงคาร. (2561). บรรยากาศองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท โตชิบา คอนซูมเมอร์โปรดัคส์ (ประเทศไทย) จำกัด. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปาริชาติ ปานสำเนียง. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร ผ่านความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.

ลดาพร เอกพานิช และคณะ. (2563). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายบริการมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14 (1), 175-193.

ศุภวัฒน์ บุตรกูล และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วารสารวิจัยรําไพพรรณี. 12 (2), 121-131.

สำนักงานอธิการบดี. (2560). ความพึงพอใจของบุคลากรภายในหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีต่อบรรยากาศการทำงาน. สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชานุช พันธนียะ. (2553). บรรยากาศที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุดปราโมทย์ วัฒนรัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการ ทำงานของพนักงานองค์การมหาชน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12 (1), 28-38.

อภิวรรณ กันวิเชิญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายทัพบดินทร์อำเภอโคกสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607 - 610.

Litwin, George H. and Robert A. Stringer, Jr. (1968). Motivation and Organization Climate. Boston Division of Research, Graduate School of Business Administration, Harvard University.

Organ, D.W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome. Lexington, Massachusetts: Heath & Company.