การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สิริรัตน์ รักพงษ์
รัตนา กาญจนพันธุ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน
ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร จำนวน 207 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของ Likert และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์ แตกต่างกัน 3) ครูที่มีวุฒิการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ทรงพล เจริญคำ. (2562). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ สำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7 (2), 11-24.

ประจักษ์พงศ์ วรรณโชติ.(2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

ปรเมธ สมบูรณ์. (2561). การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโดยการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยา. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิวัฒน์ กางการ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL โรงเรียนมัธยมหนองศาลา. มหาบัณฑิตศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

วิมลทิพย์ วิรัชวา. (2560). การศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดสหวิทยาเขตพัฒน์วิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. มหาบัณฑิตศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

รัตนานุช จวบแจ้ง. (2560). การบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. มหาบัณฑิตศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

วิวัฒน์ กางการ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL โรงเรียนมัธยมหนองศาลา. มหาบัณฑิตศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อุดม ชูลีวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Best, J. W. (1970). Research in education. Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7 th Ed.). New York: Routledge.