สมรรถนะของครูในกลุ่มสหวิทยาเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

ศิรณัฏฐ์ ภูพิเศษศักดิ์
คึกฤทธิ์ ศิลาลาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ  2) เปรียบเทียบสมรรถนะของครูในสหวิทยาเขตเบญจสิริโดยจำแนกตามตำแหน่งและวิทยฐานะ คุณวุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 644 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เปิดตารางของ Cohen, Manion and Morrison ได้กลุ่มตัวอย่าง 241 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของครูในสหวิทยาเขตเบญจสิริจำแนกตามตำแหน่งและวิทยฐานะ คุณวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า 2.1) ครูที่มีตำแหน่งและวิทยฐานะต่างกันมีสมรรถนะในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ครูที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาต่างกันมีสมรรถนะในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายด้านแตกต่างกัน 2 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 2 ด้าน 2.3) ครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีสมรรถนะในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายด้านแตกต่างกัน 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 1 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยาม สปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. journal of intelligence สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. 12 (2), 47-63.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 15 (1), 106.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทา ทั่งสุวรรณ์, วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง และ สุชาดา นันทะไชย. (2563). สมรรถนะของครูปฐมวัยกลุ่มโรงเรียนโชคชัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7 (2), 105.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระครูสิริธรรมนิเทศ, ประสิทธิ์ สระทอง และพระมงคลธรรมวิธาน. (2561). ครูมืออาชีพสู่การเรียนรู้แบบมืออาชีพ. Veridian E-Journal, Silpakorn ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (1), 2497.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข่งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่ เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

พงศธร รุ่งโรจน์ และสุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10 (1), 417.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ครูในศตวรรษที่ 21. เอกสารประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยน ประเทศไทย”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชานิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิชา พรหมโชติ, ญาณิศา บุญจิตร์ และโสภณ เพ็ชรพวง. (2564). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (41), 327.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัญชนา ประชากุล และธีรภัทร กุโลภาส. (2563). การศึกษาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของครูในสหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 16 (2), 1.

วิไลวรรณ มาลัย. (2561). สมรรถนะหลักตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7 (2), 109.

สานิตา แดนโพธิ์. (2560). สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1), 703

สุภาพรรณ ธะยะธง. (2562). การศึกษาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุพจนีย์ พัดจาด และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 13 (3), 58.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. ม.ป.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

อริยวัฒ เฉลิมกิจ และพรเทพ รู้แผน. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 8 (3), 195.

อุไร ผลาเลิศ. (2561). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ. 3(1), 2.

Louis Cohen, Lawrence Manion & Keith Morrison. (2011).Research methods in education. 7Th edition. Page 147. Routledge: New York USA.