ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 26 สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิมพ์ชนก ศรีสุพรรณ์
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งวิทยฐานะ และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 26 สำนักงาน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร โดยใช้ตารางของโคเฮน (Cohen,1988) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองมีจำนวน 40 ข้อ มีค่าความเที่ยงตามเนื้อหาระหว่าง 0.8 – 1.0 ผ่านการทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.988 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า
          1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็น โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้านการบริหารตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า ครูตำแหน่งวิทยฐานะ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสามัญศึกษา. (2544). แนวทางสู่ SBM การบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐานของกรมสามัญ. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มวิจัยและประเมินคุณภาพการศึกษา กองการมัธยมศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกวลี เกรัมย์. (2561). การบริหารใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต17. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

นคร ตังคะพิภพ. (2547). การบริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูป. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี

นลพรรณ ศรีสุข, เฉลิมชัย หาญกล้า และฐาปกรณ์ แก้วเงิน. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. การประชุมสัมมนาวิชาการ “ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่1 ”

นฤมล พรหมลัทธิ์. (2561). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต40. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักหาร แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี, มิเกล กาไรซาบาล.

ภูมินทร์ วงศ์พรหม. (2560). ศึกษาเรื่องการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7 (1), 187-200.

รุ่ง แก้วแดง. (2544). รายงานการวิจัยการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา : กรณีศึกษานิวซีแลนด์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี

สุภัสสร รัตนะโสภา และภาวิดา ธาราศรีสุทธิ (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนที่ 43 สังกัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (2), 86-99.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2562). รายงานการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สหายบล็อกและการพิมพ์

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th Ed.). New York: RoutledgeLikert, R. (1967). The human organization. New York: McGraw - Hill