ทัศนคติของประชาชนเขตสัมพันธวงศ์ที่มีต่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ

Main Article Content

หงษ์ศิริ ภิยโยดิลกชัย
ยุภาวรรณ ดวงอินตา

บทคัดย่อ

          วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของประชาชนเขตสัมพันธวงศ์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน     เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร  จำนวน 425 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS  โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการเปรียบเทียบโดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า สถานภาพของประชาชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ ระหว่าง 15 – 25 ปี ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ ศาสนาพุทธ ระดับการศึกษาสูงสุดต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษารวมถึงไม่มีบุตรหลานที่สำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยฯ ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยฯ และไม่ได้ติดตามข่าวสารหรือรับรู้ข่าวสารต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัยฯ มีความต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยฯ จัดกิจกรรมทางด้านการท่องเที่ยวชุมชน ทัศนคติของประชาชนเขตสัมพันธวงศ์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยฯ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านองค์กร  ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการบริหารจัดการ  และด้านกิจกรรมบริการวิชาการหรือการมีส่วนร่วมกับชุมชน  (ค่าเฉลี่ย = 4.00, 3.94, 3.93 และ 3.85 ตามลำดับ) ผลจากการวิเคราะห์สมมติฐาน พบว่า เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด ที่แตกต่างกัน มีทัศนคติของประชาชนที่แตกต่างกัน สำหรับประชาชนที่มีอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน  ที่แตกต่างกัน  มีทัศนคติของประชาชนที่ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะบริหารธุรกิจ พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (มปป.). ประวัติคณะบริหารธุรกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. แหล่งที่มา https://bua.rmutr.ac. th/?page_id=15.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ธีระ สินเดชารักษ์. (2563). สำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของกองทัพบก ประจำปีงบประมาณ 2563. รายงานวิจัย. สาขาการวิจัยและการประเมินผล. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทรพล ผูกพันธ์ และโสภณ ศรีวพจน์. (2563). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางนา กรุงเทพมหานคร. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย. 2 (2), 29-44.

ศุภกิจ ภาวิไล, รรินทร วสุนันต์ และอาภาวดี นันตรี. (2560). ภาพลักษณ์กระทรวงกลาโหมในทัศนคติของบุคลากร สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 13 (2), 189-199.

สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์. (2563). สถิติ-ประชากร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2563. แหล่งที่มา http://203.155.220.217/samphanthawong/dep/DepRepL0201.php.

สุภาวดี ช่อสม และกันตภณ หนูทองแก้ว. (2563). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานด้านการพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตําบลสินเจริญ อําเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (1), 211-225.