การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1

Main Article Content

สิริพร ธรรมปรีชา
อุไร สุทธิแย้ม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1  กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 จำนวน 168 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และเทียบสัดส่วน จากการเปิดตารางของ Cohen, Manion and Morrison จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2)  ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ครูที่มีขนาดของโรงเรียนแตกต่างกัน มีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษิฏิพงษ์ ไวศะยาณุกูล และ ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในกลุ่ม สหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (1), 141-153.

กรรณสพร ผ่องมาศ. (2561). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา

บัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ณปิติ วงศ์ษา. (2559). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนดอนเมืองทหาร

อากาศบำรุง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-

_1510845975_5814470621.pdf

บุญยิ่ง พรมจารีย์. (2560). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เบญจรงค์ เที่ยงศรีเกลี้ยง และ รัตนา กาญจนพันธุ์. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการ

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (2), 139-152

พิมพ์ญาฎา นูพิมพ์. (2560). ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลมิตร

สัมพันธ์วิทยา สังกัดเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระ

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.

รัตนา นิธิรักษ์. (2555). การพัฒนาคู่มือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านท้องคุ้ง สังกัดสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.

สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริรัตน์ เกตุประทุม. (2560). การดำเนินงานและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอพานทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2.

งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวา ขุนชำนาญ และ จรัส อติวิทยาภรณ์. (2564). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1,313 – 1,328.

สุนิสา มาสุข. (2560). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วน

จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. คู่มือแนวทางดำเนินงานงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: http://www. chon1.go.th/web/#

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสําหรับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนของ

สถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://drive.google. com/file/d/1R9s0apSmUN8aIZZMx8ZjURTqG1ZjIQDG/view

Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education.

th ed New York: Morrison