การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 269 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายและเทียบสัดส่วน จากการเปิดตาราง Cohen, Manion and Morrison จำแนกตามวุฒิการศึกษา ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ระดับมาก โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย สามลำดับแรก คือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารวิชาการตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการบริหารงบประมาณ 2) ครูที่มีวุฒิ การศึกษาขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.
กัลยารัตน์ รอดพิเศษ (2555). การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียน เทศบาลในจังหวัดตราด จันทบุรีและระยอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารศึกษา).
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
จุฑามณี สุขไสว. (2560). ความคิดเห็นในการบริหารงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสเครือข่ายไร่ขิงพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2.งานวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทัดดาว อันประนิตย์. (2557). การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมวิชาการ.
พิณชุดา ชื้อมีชัย. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของครู ต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. งานวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พีรณันต์ สุขสมบูรณ์. (2553). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์าลัยรามคำแหง.
รจนาพร เอื้อสลุง. (2560). การศึกษาความพงึพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ในสำนักงานเขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร.งานวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รุ่งทิพย์ มีเพ็ชร. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายทวาราวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี. งานวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศริญภา ดอเลาะห์. (2560).ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนพิทยพัฒน์ศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร. งานวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; &Morrison,Keith.(2011). Research Method in Education. (7thed). New York : Morrison.