แรงจูงใจในการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้

Main Article Content

อุมาพร พันธ์ศรี
อุไร สุทธิแย้ม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จำนวน 183 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายและเทียบสัดส่วนจากการเปิดตาราง Cohen, Manion and Morrison จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และวิทยฐานะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.98 และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1)  ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ระดับมากที่สุดและมาก โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย สามลำดับแรก คือ ด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงานตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2) ครูที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีวิทยฐานะแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ โดยภาพรวมและรายด้านการได้รับการยอมรับนับถือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนในรายด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด ชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ที.เอส.บี. โปรดักส์.

กาญจนา ช้างเยาว์. (2561). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยองวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกดัสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามธัยมศึกษาเขต 18. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉัตรชัย แทนทอง. (2561). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณิชพร คำเถียร. (2559). แรงจูงใจกับการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพล สีจาด. (2563). การทำงานเป็นทีมของครูในการดำเนินงานกลุ่มบริหารวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 สหวิทยาเขตเสรีไทย. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิ่นทอง ศรีสวัสดิ์. (2560). การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

วัชริศ เจริญกุล. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2564). ออนไลน์. สืบค้น10 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://webportal.bangkok.go.th/bangkokeducation.

อริศษรา อุ่มสิน. (2560). การศึกษาการทางานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สืบค้น10 มกราคม 2565มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison,Keith.(2011).Research Method in Education. (7thed). New York : Morrison.

Herzberg, Ferderick and others. (1959). The motivation to work : New York : John Wiley and Sons.

Maslow, A. H. (1987). Motivation and personality (3 rd ed.). New York: Harper and Row.