การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารและครู โรงเรียนกลุ่มเมืองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารและครู โรงเรียนกลุ่มเมืองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยจำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครู ของโรงเรียนกลุ่มเมืองบางปู จำนวน 183 คน โดยใช้วิธีสุ่ม อย่างง่ายและเทียบสัดส่วน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ได้จากการเปิดตารางของ Cohen, Manion and Morrison เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม จำนวน 45 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา เท่ากับ .97 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ตามวิธีของ Scheffe
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเมืองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารและครู ที่ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ผู้บริหารและครู ที่ขนาดของโรงเรียน ต่างกัน มีความคิดเห็นในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ พบความต่างในภาพรวม ขั้นการเตรียมการ ขั้นการดำเนินการ และขั้นการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องรับผิดชอบและร่วมมือดำเนินการทุกขั้นตอน โดยอาศัยกระบวนการดำเนินการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจรคุณภาพ PDCA มีกระบวนการกำหนดเป้าหมายคุณภาพ ดำเนินการตามแผน การติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพ นำผลการประเมินมาเป็นฐานในการตัดสินใจพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นต่อเนื่อง
Article Details
References
กาญจะณี เนียมจันทร์. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์. (2563). การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
เจนจบ หาญกลับ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวง ของโรงเรียนเอกชนเขตกรุงเทพมหานครประสบความสำเร็จ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
แจ่มจันทร์ ฉายแสมแสง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในกับผลการประเมินคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ศิริพงษ์ เศาภายน. (2559). การศึกษาอิสระ Independent Studies. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.
ภณัฐพงศ์ พลมุข. (2561). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
มยุรี ธานีโต. (2561). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการดำเนินการประกันคุณาภาพภายในของโรงเรียนกลุ่มเคลือข่ายที่ 39 สังกัดกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่ง แก้วแดง. (2554). ประกันคุณภาพการศึกษาทุกคนทำได้ไม่ยาก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
โรงเรียนวัดตำหร มิตรภาพที่ 65. (2556). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. โรงเรียนวัดตำหรุ มิตรภาพที่ 65.
วรวรรณ สังสัพพันธ์. (2560). การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาวดี จันทร์ศิริ. (2563). การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5 (2), 61-76.
แสงเพียร งานดี. (2553). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตอําเภอแม่สลวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. กลุ่มนโยบายและแผน: สํานักงานเขตพื้นทื่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. กลุ่มนโยบายและแผน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563).การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563).การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563).การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
อนุศรา พูลคุ้ม. (2559). แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานของโรงเรียนต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรณ เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 11(ฉบับพิเศษ), 59-76.
อารียา ดวงเทพ. (2563). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการวิทยาวับสันตพล. 6 (1), 145-152.
Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison,Keith.(2011).Research Method in Education. (7thed). New York : Morrison.