แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลลาดแค อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

กุลวดี กุลสุนทร
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ และ3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถามกับผู้สูงอายุ 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุเข้าเรียน จำนวน 100 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมด และผู้สูงอายุในตำบล จำนวน 325 คน จากการแทนค่าในสูตรของยามาเน่ (Yamane) ใช้สถิติที่ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า ผลการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า ความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า 1) ปัญหา อุปสรรค และความต้องการ คือ ต้องให้หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐต่าง ๆ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการจัดกิจกรรม ให้มีกิจกรรมนันทนาการ ร้องรำ ทำเพลง การเล่นดนตรี เต้นรำและการแสดง เป็นแหล่งชุมชนพบปะสังสรรค์ของผู้สูงอายุ 3. ปัญหา อุปสรรค และความต้องการ คือ ต้องให้หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐต่าง ๆ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ต้องการให้มีกิจกรรมนันทนา การร้องรำ ทำเพลง การเล่นดนตรี เต้นรำและการแสดง ต้องการให้เป็นแหล่งชุมชนพบปะสังสรรค์ของผู้สูงอายุ  แนวทางการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ คือ การมีแกนนำหรือทีมงานที่เข้มแข็ง ทุ่มเท เสียสละ และมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ พยายามผลักดันให้ผู้สูงอายุทุกคนมีตัวตน สร้างเครือข่ายผู้นำที่เข้มแข็งทั้งผู้นำในชุมชนและเครือข่ายในหมู่สมาชิกของโรงเรียนผู้สูงอายุด้วยกัน ให้ความสำคัญกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานภายนอกต่างๆ มีการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ เรียนรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของโรงเรียน และพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่องให้ดีขึ้น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน ด้านงบประมาณ บุคลากร การประสานเครือข่าย ในการขับเคลื่อนงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินงานได้อย่างราบลื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335.

โกสินล์ ชี้ทางดี. (2562). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 11 (2), 325-336.

ณรงค์ ปัดแก้ว, พระครูสุตชยาภรณ์, และดิลก บุญอิ่ม. (2561). รูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย. ลำปาง: วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ และคณะ. (2562). โรงเรียนผู้สูงอายุ : การจัดการสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (2), 960-972.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564). การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/health-literacy/.