ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

จตุพร ไกรกิจราษฎร์
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา คือ 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลไกรนอก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลไกรนอก และ3) แนวทางการส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลไกรนอก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าบ้านหรือตัวแทนเจ้าบ้าน จำนวน 324 ครัวเรือน จากการแทนค่าในสูตรของยามาเน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกขยะมูลฝอย พบว่า 1) ประชาชนมีความรู้ความเข้าในการคัดแยกขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง  2) ทัศนคติในการคัดแยกขยะมูลฝอย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) พฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกขยะมูลฝอย พบว่า ทัศนคติการคัดแยกขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลไกรนอก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.465) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. แนวทางการส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอย พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีระบบคัดแยกและรวบรวมขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท และให้ทุกชุมชนมีการใช้สินค้าที่มีส่วนประกอบจากวัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควรสร้างเครือข่ายรวมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างศูนย์จัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสานโดยเน้นการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ในรูปของปุ๋ย และการผลิตพลังงานทดแทนหรือเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสม โดยให้มีธุรกิจรับซื้อขยะรีไซเคิลที่คัดแยกจากแต่ละครัวเรือนและส่งต่อไปยังโรงงานแปรรูปกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในระบบบำบัดและกำจัดขยะมูลฝอยหรือระบบสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ชยางคกุล (2553). ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย: ศึกษากรณีการจัดการขยะ มูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. รายงานวิจัย. ปทุมธานี : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

จอมตวัญจ์ อาคมานนท์ และ นาวาอากาศเอก ปัญญา ศรีสิงห์. (2563). ความรู้และการรับรู้ที่มีต่อพฤติกรรมในการจัดการขยะพลาสติก ของคนกรุงมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 25 (3), 171-185.

องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (2561-2565). สุโขทัย: องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก.

วิภาณี อุชุปัจ. (2561). ความรู้ พฤติกรรมในการจัดการขยะของประชาชนและคุณภาพการบริการในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วีรวัลย์ แก้วบุญชู, วนิพพล มหาอาชา, เสรี วรพงษ์ และ ธเนศ เกษศิลป์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน กรณีศึกษา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1561-1570.

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์ และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้านในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (1), 180-190.

อรรถนันท์ คำยิ่ง. (2564). แนวทางในการจัดการมูลฝอยของชุมชนแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเน้นการมีส่วนรวมของชุมชน. วิทยานิพนธ์นี้รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. การจัดการและพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.